พุทธนวัตกรรมบนสื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
คำสำคัญ:
พุทธนวัตกรรม, กลยุทธ์ FSA, สื่อออนไลน์, ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการนำสื่อออนไลน์ เว็บแอพพลิเคชั่น มาใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะด้านอิทธิบาท 4 เพื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์อังกฤษด้วยกลยุทธ์การวิเคราะห์ประโยคเชิงคู่ความสัมพันธ์ 2) เพื่อศึกษาการนำรูปแบบพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะแห่งอิทธิบาท 4 เพื่อความถูกต้องในการใช้ไวยากรณ์อังกฤษ โดยศึกษาการนำสื่อออนไลน์ระบบเว็บแอพพลิเคชั่น เพี่อการนำไปใช้ในการเรียนรู้ไวยากรณ์อังกฤษ ด้วยคุณลักษณะอิทธิบาท 4 มาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่กลยุทธ์การวิเคราะห์ประโยคเชิงคู่ความสัมพันธ์ หรือ กลยุทธ์ FSA ที่ได้รับการบูรณาการอย่างสอดคล้องสัมพันธ์ทั้งในหลักการและในระบบเว็บแอพพลิเคชั่น เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอิทธิบาท 4 ให้สูงสุดในด้านความพึงพอใจ มีฉันทะในการใช้กลยุทธ์ FSA ในด้านวิริยะมีความมุ่งมั่นพากเพียรฝึกฝน ด้านการใฝ่ใจเรียนรู้ด้วยจิตตะ และด้านการฝึกคิดไตร่ตรองด้วยปัญญาไปสู่ความสำเร็จด้วยวิมังสา ซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กันตามทฤษฎีความสอดคล้องสัมพันธ์
ผลการศึกษา พบว่า ในการใช้สื่อออนไลน์ เว็บแอพพลิเคชั่น ทำให้ใช้สื่อการสอนเสมือนจริง ที่ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำ รวมทั้งมีโปรแกรมที่ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน สำหรับฝึกฝนทำแบบฝึกหัดพร้อมแบบเก็บข้อมูลประมวลผลเพื่อติดตามพัฒนาการทั้งด้านคุณลักษณะอิทธิบาท 4 และ ความถูกต้องในการใช้ไวยากรณ์อังกฤษ อีกทั้งทำให้ทำให้สามารถครอบคลุมเนื้อหาการเรียนการสอนไวยากรณ์ได้ทุกระดับ ที่ไม่สามารถสอนได้ครบถ้วนในภาคการศึกษา ทำให้ได้ผลทางด้านการพัฒนาคุณลักษณะอิทธิบาท 4 ในตัวบุคคลเพื่อการนำไปใช้ในการเรียนรู้ไวยากรณ์บนสื่อออนไลน์ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
References
กฤติกาวลัย หิรัญสิ. (2556). หัวข้อการบรรยายในชั้นเรียน “อิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับสังคมไทย” ด้านการศึกษา, วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556.
จุฑารัตน์ คัมภีรภาพ. (2562). การใช้กลยุทธ์การวิเคราะห์ประโยคเชิงคู่ความสัมพันธ์ในการตรวจทานงานเขียน. วารสารภาษาปริทัศน์, 34, 154-189.
จุฑารัตน์ คัมภีรภาพ. (2564). ผลการใช้กลยุทธ์ Functional Sentence Analysis (FSA) ในการตรวจทานการเขียนด้วยตนเอง ที่มีต่อความถูกต้องในการใช้ไวยากรณ์ของนิสิตในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง II.วารสารภาษาปริทัศน์, 36, 93-118.
พระธรรมปิฎก. (2546). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมมิกจำกัด.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). ธรรมะกับการทำงาน., พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์รวมเล่ม 3 ภาค ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม.พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปิ่น มุทุกันต์. (2537). แนวสอนธรรม : ตามหลักสูตรนักธรรมตรี. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.
พุทธทาสภิกขุ. (2537). การงานที่เป็นสุข. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พุทธทาสภิกขุ และปัญญานันทภิกขุ. (2544). คุณธรรมของชีวิตที่ดีงาม. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยเล่มที่ 10 ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยเล่มที่ 11 ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยเล่มที่ 12 ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยเล่มที่ 14 ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยเล่มที่ 15 ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยเล่มที่ 17 ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Butt, et al. (2000). Using Functional Grammar. Second Edition. Sydney: Macquarie University.
Ellis, R. (1997). Second Language Acquisition in Context. Cambridge: Cambridge University Press.
Halliday, M. A. (1993). Towards a Language-Based Theory of Learning. Linguistics and Education, 5, 93-116.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว