รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ของประเทศไทยยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • สุนิดา เพิ่มพูนศรีศิลป์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ณรัฐ วัฒนพานิช มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชมสุภัค ครุฑกะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ขีดความสามารถ, ผู้แนะนำการลงทุน, ธุรกิจหลักทรัพย์, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ของประเทศไทยยุคดิจิทัล 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้แนะนำการลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ของประเทศไทยยุคดิจิทัล และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้แนะนำการลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ของประเทศไทยยุคดิจิทัล โดยการสัมภาษณ์เกี่ยวกับสภาพและความต้องการขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญ 15 คน สังเคราะห์ข้อมูลและนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ของประเทศไทยยุคดิจิทัล โดยใช้เทคนิคเดลฟาย 3 รอบ จากผู้เชี่ยวชาญ 18 คน แล้วนำรูปแบบไปประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและใช้สถิติการหาค่าความถี่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ของประเทศไทยยุคดิจิทัล มีระดับความถี่ที่เท่ากัน ส่วน ความต้องการขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการวิเคราะห์เศรษฐกิจและหลักทรัพย์ (2) ด้านการให้คำปรึกษาในการลงทุน (3) ด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา (4) ด้านการใช้เทคโนโลยีระบบและกระบวนการซื้อขาย (5) ด้านคุณธรรม และจริยธรรม และ (6) ด้านการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ 2) รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้แนะนำการลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ของประเทศไทยยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่
(1) เป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายหลัก (2) การวิเคราะห์ความจำเป็นในการพัฒนา (3) การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ 6 หน่วย แต่ละหน่วยการเรียนรู้ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ/หัวข้ออบรม กิจกรรม/วิธีการเรียนรู้ วิธีวัดและประเมินผล (4) การนำไปปฏิบัติ และ (5) การประเมินผล 4 มิติ ได้แก่ มิติปฏิกิริยาการเรียนรู้ มิติการเรียนรู้ มิติพฤติกรรมหรือติดตามการเรียนรู้ และมิติผลลัพธ์ ทุกองค์ประกอบผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าเหมาะสมและสอดคล้องกัน 3) ผลการประเมินรูปแบบผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าทุกองค์ประกอบเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด

References

ขวัญหทัย ลม้ายจำปา. (2559). แนวทางการพัฒนาผู้แนะนำการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสำหรับนักลงทุนมือใหม่ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและการให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561). ประวัติและบทบาทความเป็นมาของตลาดหลักทรัพย์ฯ. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563, จาก https://www.set.or.th/th/about/overview/history_p1.html

ประไพทิพย์ ลือพงษ์. (2555). การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะความสามารถในการแข่งขัน. วารสารนักบริหาร, 32(4), 103-108.

พนมพร นิรัญทวี. (2550). กลวิธีการใช้ภาษาในข้อความโฆษณา: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษา (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิชญาภา ยืนยาว. (2552). รูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพลิน สาลีผล และบุญสม เกษะประดิษฐ์. (2562). การปรับตัวของบริษัทหลักทรัพย์ต่อเทคโนโลยีการซื้อขายสมัยใหม่. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(2), 24-36.

ภัทรี ฟรีสตัด. (2558). การพัฒนาสมรรถนะผู้แนะนำการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสู่ระดับสากล (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิมล ว่องวานิช. (2559). แบบตรวจสอบรายการประเมิน: วิธีวิทยาและเครื่องมือประเมิน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิศักดิ์ ไชยโรจน์วัฒนา และคณะ. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย. วารสารวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 10(12), 73-84.

Delahaye, B. (2011). Human resource development: Managing learning and knowledge capital. (3rd ed.). Prahran, Victoria, Australia: Tilde University Press.

Eisner, E. W. (1976). Educational connoisseurship and criticism: Their form and functions in educational evaluation. Journal of Aesthetic Education, 10(3/4), 135-150.

Heneman, H. et. Al. (1983). Personnel/Human Resource Management. Illinois: Irwin.

Kirkpatrick, D. L., & Kirkpatrick, J. D. (2006). Evaluating training programs: The four levels (3rd ed.). San Francisco: Brerrett-Koehler.

Mankin, D. (2009). Human Resource Development. The UK: Oxford University.

Runge, R.R. (2013). The evolution of a national response to violence against women. Hast-ings Women’s Law Journal, 24,433-459.

Schein, V. E. (1975).Relationships between sex role stereotypes and requisite management characteristics among female managers. Journal of Applied Psychology, 60(3), 340-344.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30