การจัดการเรียนรู้แบบอรรถฐานการเล่านิทานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังพูดภาษาอังกฤษและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • กฤษดา โยธาราษฎร์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การสอนภาษาแบบอรรถฐานเล่านิทาน, ความสามารถในการฟังพูดภาษาอังกฤษ, ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถ
ในการฟังพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยแบบอรรถฐานเล่านิทาน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการฟัง
พูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอรรถฐานการเล่านิทานก่อนและหลังการทดลอง และ 3) เปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอรรถฐานการ
เล่านิทานก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือเด็กปฐมวัยที่กำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่ม
แบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ในการฟังพูดภาษาอังกฤษ
แบบอรรถฐานเล่านิทานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) แบบประเมินความสามารถในการฟังพูดภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า

  1. การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยแบบอรรถฐานเล่านิทาน มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 75.50/75.14 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ที่ตั้งไว้
  2. ความสามารถในการฟังพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอรรถฐานเล่านิทาน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอรรถฐานเล่านิทานหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การวัดและประเมินผลอิงมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ.กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2557). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรสโปรดักส์.

กุศยา แสงเดช. (2554). บทเรียนสำเร็จรูปคู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

ฑีรณัท ขันนาค. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ณัฐสกุล บุญยศิริ. (2560). การศึกษาความสามารถในการฟังการพูดภาษาอังกฤษของเด็กก่อนวัยเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบัวงาม โดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎีการสอนแบบอรรถฐานด้วยอรรถลักษณะของนิทานประกอบหุ่นมือ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ทิติยา อินกล่อม. (2559). การศึกษาความสามารถในการฟังพูดภาษาอังกฤษและความสนใจต่อ การเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนวัดบ้านเก่า โดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยกิจกรรมเพลง (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

สมบัติ คชสิทธิ์. (2560). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนยุค THAILAND 4.0 (การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). คู่มือการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2554). วิธีการสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 41. กรุงเทพฯ: จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.

อรัญญา เถื่อนสุริยะ. (2553). การศึกษาความสามารถในการฟังพูดภาษาอังกฤษและความเชื่อมั่นในตนเอง

ในการฟังพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐานโดยการใช้อรรถลักษณะของการเล่านิทาน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อานันต์ เณรฐานันท์. (2561). การศึกษาความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษและความสนใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนบ้านมั่นคงสวนพลู กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน (Genre-Based Approach) ด้วยอรรถลักษณะของนิทาน (Narrative Genre Features). ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

Asher, S. R., Singleton, L. C., Tinsley, B. R., & Hymel, S. (1979). A reliable sociometric measure for preschool children. Developmental Psychology, 15(4), 443–444.

Byrne, D. (1979). Teaching writing skills. Singapore: Four Strong.

Finocchiaro, M. & Brumfit, C.J. (1983). The functional- national approach: From theory to practice. New York: Oxford University Press.

Littlewood, W. (1981). Communicative language teaching. Cambridge: Cambridge University.

Morrow, K. (1984). Principles of communicative methodology. In communication in the classroom: Applications and methods for communicative approach. London: Longman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30