การประเมินความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • วัฒนา หงสกุล สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เตือนใจ ดลประสิทธิ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็น, การบริหารงาวิชาการ, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพความคาดหวัง และสภาพที่เป็นจริงในการบริหารงานวิชาการโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี เขต 1 (2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี เขต 1 (3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัด นนทบุรี เขต 1 จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ
แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNI Modified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพความคาดหวังการบริหารงานวิชาการโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี เขต 1 พบว่าอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน และสภาพที่เป็นจริงพบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง ทุกด้าน
  2. การจัดลำดับความสำคัญการบริหารงานวิชาการโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี เขต 1 พบว่า อันดับสูงสุด
    คือ ด้านการวัดผล ประเมิน และการเทียบโอนผลการเรียน รองลงมาคือ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามลำดับ
  3. แนวทางในการพัฒนาในการบริหารงานวิชาการโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี เขต 1 คือ ส่งเสริมการทำงาน อันได้แก่ การสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และข้อมูลสาระสนเทศให้เพียงพอตามต้องการ มีการจัดสรรเวลาในการปฏิบัติงานของครูให้มีความเหมาะสม ครูสามารถมีเวลาในการพัฒนางานด้านอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่ เปิดโอกาสให้ครูได้ศึกษาเรียนรู้ และเข้าอบรม เกี่ยวกับการทำงาน เพื่อพัฒนาตนเองและองค์กรอย่างเหมาะสม

References

กรองกาญจน์ นาแพร่. (2560). การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ จังหวัดสมุทรสาคร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

จุลล ศรษะโคตร และ วัลลภา อารีรัตน. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(1), 26-36.

ธันยพร บุญรักษา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. 2558. กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด, เอกรินทร์ สังข์ทอง และชวลิต เกิดทิพย์. (2557). รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 12(2),123-124.

สิวรี พิศุทธิ์สินธพ. (2554). รูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ท.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกพล อยู่ภักดี และวัลลภา อารีรัตน์. (2559). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง วิชาชีพของครูในโรงเรียนสังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bozzini, M.D. (2017). Principals’ Perspectives on Designing, Implementing and Sustaining A Professional Learning Community (A Dissertation Doctor of Education). Delaware Valley University.

Bryk, A., Camburn, E. & Louise, K. S. (1999). Professional learning in Chicago Elementary School:Facilitating Factors and Organizational Consequences. Educational Administration Quarterly, 35, 751-781.

Calcasola. (2 009). Episode-based performance measurement and payment: Making it a reality. Health Aff (Millwood), 28(5),1406–1417.

Gilrane, C.P., Russell, L.A. and Roberts, M.L. (2008). Building a Community in which Everyone Teaches, Learns and Reads : A Case Stud. The Journal of Educational Research, 101(6), 333-349.

Hord, S.M. (1997). Professional Learning Communities: Inspiration, Challenge, Surprise, and Meaning. Thousand Oaks, Corwin.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

M.E. Flores,M.E. et al. (2015). Presence of mycotoxins in animal milk: A review. Food Contr, 53, 163-176.

Russell Murdaugh E. C. (2017). Promoting a Culture of Collaboration and Reflection Through a Professional Learning Community.University of South Carolina. Retrieved January 6, 2022, from https://scholarcommons.sc.edu/etd/4211

Saavedra, R.M. (2017). Effective Practices of Professional Learning Communities in Gold Ribbon Texas Middle Schools (A Dissertation Doctor of Education in Educational Leadership). Lamar University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30