การศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานทางด้านการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์: ศึกษากรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล 2

ผู้แต่ง

  • ชาคียา บุญยรัตน์ สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ณรงค์ กุลนิเทศ สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การโจรกรรมรถยนต์, การเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน, กองบังคับการตำรวจนครบาล 2

บทคัดย่อ

เมื่อเกิดปัญหาอาชญากรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในสังคม พนักงานสืบสวนสอบสวน มีหน้าที่ในการรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาตามอำนาจหน้าที่แห่งกฎหมายเพื่อพิสูจน์ทราบถึงข้อเท็จจริงและเพื่อที่จะนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ดังนั้น พนักงานสืบสวนสอบสวนจะต้องมีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการสืบสวนสอบสวน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานในการปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตสถานีตำรวจของกองบังการตำรวจนครบาล 2 โดยทำการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย คือ พนักงานสืบสวนสอบสวนที่ปฏิบัติงานกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 จำนวน 11 สถานี ผลการศึกษาพบว่า พนักงานสืบสวน สอบสวนจาก 11 สถานี มีปัญหา และอุปสรรคในการปฏิบัติงานเป็นไปตามทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุคดีโจรกรรมรถยนต์สอดคล้องไปในทางเดียวกัน ซึ่งการศึกษานี้ อาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สอบสวนต่อไปในอนาคตและเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานสืบสวนสอบสวนให้ดียิ่งขึ้น และควรมีการกำหนดแนวทางกาปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

References

ดุสิต ทำดี. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์: ศึกษากรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2531). อาชญาวิทยา: สหวิทยาการว่าด้วยปัญหาอาชญากรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรันยภัทร เสียงสูง. (2559). การรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในคดีอาญาของประเทศไทย กรณีศึกษาพยานหลักฐานทางชีววิทยาตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2562, จาก http://www.lib.ku.ac.th/KUCONF/2559/KC5310006.pdf

สฤษดิ์ สืบพงษ์ศิริ, (2551). เอกสารประกอบการสอน วิชา หลักการทางนิติวิทยาศาสตร์. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562, จาก http://www.ajarnpat.com/article/ article_evidence.pdf

เสริน ปุณณะหิตานนท์. (2527). การกระทำผิดในสังคม สังคมวิทยาอาชญากรรมและพฤติกรรมเบี่ยงเบน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอก อังสนานนท์.(2556). คู่มือพนักงานสอบสวน. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562, จาก http://criminalaffairs. police.go.th/documents/คู่มือพนักงานสอบสวน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30