คุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกะปิ
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, สำนักงานที่ดินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกะปิ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกะปิ ตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้มารับบริการ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ
โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร คือ ประชาชนผู้มารับบริการของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร
สาขาบางกะปิ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 375 คน โดยใช้สูตรกำหนดขนาดตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ F-Test
ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกะปิ
โดยภาพรวมและในรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ รองลงมาคือ ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า
ด้านการให้บริการที่ตรงเวลา และด้านการให้บริการอย่างเสมอภาค ตามลำดับ 2) อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีความเห็นคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกะปิ ไม่แตกต่างกัน
References
กรมที่ดิน. (2559). แผนปฏิบัติการกรมที่ดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: กรมที่ดิน.
จารุบูณณ์ ปาณานนท์. (2550). การสรรค์จุดหมายทางการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ. จุลสารการท่องเที่ยว. 11 – 12.
ชิษณุทัศน์ พิชยประภาพัฒน์. (2558). คุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นิภาพร นินเนินนนท์. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางเขน (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.
ปาริชาต พรมโคตร. (2560). คุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม สาขาท่าอุเทน ส่วนแยกบ้านแพง (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ปิยณัฐ จันทร์เกิด. (2559). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลนครนครสวรรค์ตามการรับรู้ของประชาชน (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ไพฑูรย์ คุ้มคง. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาล ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมิต สัชฌุกร. (2550). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ (Excellence service). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สายธาร.
สุธี เธียรกัลยา. (2553). วิเคราะห์พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539: ศึกษากรณีหน่วยงานของรัฐบังคับให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน. (เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ).
สุเมศวร์ เสือทอง. (2556). คุณภาพการให้บริการสาธารณะของสำนักปลัดเทศบาลเทศบาลตำบลฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และคณะ. (2550). การพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อความอยู่รอดของบริการสุขภาพในภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
Dickens, P. (1994). Quality and Excellence in Human Service. New York: John Welly & Son.
Fitzsimmons, J. A., & Fitzsimmons, M. J. (2006). Service management : Operations, Strategy and information technology (3rded.). New York: McGraw-Hill.
Kotler, P. (1994). Marketing management Analysis, Planning, Implementation and Control (8thed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Millet. (1954). Management in the Public Service: The quest for effective performance. New York: McGraw-Hill Book.
Parasuraman and et. al (1990). Delivering Service Quality : Planning customer Perceptions and Expectation. New York: Fress.
Peter. P. J. and H. Donnelly. Jr. (2004). Marketing Management: Knowledge and Skills 7 ed. New York: McGraw – Hill.
Yamane,T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว