การมีส่วนร่วมของประชาชนกับตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในการป้องกันอาชญากรรม ในพื้นที่ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ฉัตรนารี ทองเรืองวงค์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • ศิพร โกวิท โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, ตำรวจชุมชนสัมพันธ์, การป้องกันอาชญากรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมของตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในพื้นที่ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนกับตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในพื้นที่ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน คือประชาชนที่อยู่ในตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว One-Way ANOVA (F-test) และเมื่อพบว่าค่า F มีความแตกต่างจะทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)

ผลการวิจัยพบว่า

1.การมีส่วนร่วมของประชาชนกับตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ตำบล
สวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้
ด้านร่วมในการตัดสินใจและวางแผน รองลงมา คือด้านการร่วมปฏิบัติกิจกรรม และด้านการร่วมติดตามประเมินผลตามลำดับ

2.ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุม พบว่ามีเพียงปัจจัยส่วนบุคคลด้านระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่แตกต่างกัน มีผลกับการมีส่วนร่วมร่วมของประชาชนกับตำรวจชุมชนสัมพันธ์แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2554). การศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีสยาม.

ธีราทัต สังสะนา. (2552). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนในพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ตะวัน ตระการฤกษ์. (2559). ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตำรวจภูธรภาค 7 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

ปราโมทย์ จิตรสมบูรณ์. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนโครงการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ปราโมทย์ จันทร. (2558). แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลบางโพงพาง (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.

พัฒน์วิทย์ แสงมุกดา. (2560). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมผ่านสื่อวิทยุจราจรเพื่อสังคม กรณีศึกษา: กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(24), 20-31.

รักชาติ ทัพซ้าย. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม: ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุนีย์ กัลป์ยะจิตร และณัฏฐาภรณ์ โสกัณฑัต. (2559). โครงการประเมินผลการปฏิบัติงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

สุเมธ ธิราพืช (2553) การมีของนักปกครองท้องที่ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการเขตพื้นที่อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 4(2), 80-86.

อัจฉรียา ชูตินันท์. (2561). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

อัตถกร ธรรมศิริ และติน ปรัชญพฤทธิ์. (2562). แนวทางการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนรอบสถาบันการ ศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 7(1), 32-38.

อนุรักษ์ พัสสร. (2553). ความปลอดภัยไม่มีวันหยุด. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครสวรรค์: ริมปิงการพิมพ์.

อาวุธ ชูจิต. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันยาเสพติด เขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2562). ตำรวจชุมชน. ค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2563, จาก https://www.parliament. go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=55498&filename=index

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30