ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

ผู้แต่ง

  • สิริพร เฉลิมชุติเดช สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศันสนีย์ จะสุวรรณ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ปัจจัย, คุณภาพการศึกษา, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านทรัพยากร
ทางการศึกษา ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านวัฒนธรรมองค์กร ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 361 คน ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างได้มาจาก ตารางของ เครจซี่และมอร์แกน โดยใช้เครื่องมือ
ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามลำดับได้ดังนี้ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร และ ด้านทรัพยากรทางการศึกษา

2) คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามลำดับได้ดังนี้ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านคุณภาพของผู้เรียน  

3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษามากที่สุดคือ ปัจจัยด้านทรัพยากรทางการศึกษา ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร และปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม

References

พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2559). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิตอล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 344-355.

วิจารณ์ พานิชม. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ใน ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

สิดารัศมิ์ สิงหเดชาสิทธิ์ และสุชาดา บวรกิติวงศ์. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(4), 695-707.

สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัตร. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิตัล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). บรรยายเรื่อง “Thailand 4.0 กับอนาคตประเทศไทย”. ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์, วันที่ 3 มิถุนายน 2560.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Marc, P. (2010). Educational Technology for School Leaders. California: United States of America.

Sanrattana, W. (2013). A new paradigm for education: Case studies toward the 21st century. Bangkok: Thipayawisut.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30