คุณภาพชีวิต และความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรทางการแพทย์ ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ในเขตพื้นที่ภาคใต้

ผู้แต่ง

  • หยาดพิรุณ ขุนศรี หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • สุพิศ ฤทธิ์แก้ว สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • จินตนีย์ รู้ซื่อ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความรับผิดชอบต่อสังคม, บุคลากรทางการแพทย์, เชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19)

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ให้ทราบถึงระดับคุณภาพชีวิตและความรับผิดชอบต่อสังคม
ของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ในเขตพื้นที่ภาคใต้
2) เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตและความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ของโรงพยาบาลศูนย์ในเขตพื้นที่ภาคใต้ ตามลักษณะประชากรศาสตร์ 3) เพื่อทราบถึงข้อเสนอแนะด้านการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ในเขตพื้นที่ภาคใต้
ในเขตพื้นที่ภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีความใกล้ชิดกับกลุ่มผู้ป่วย และมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าคนกลุ่มอื่น ๆ โดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อในการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากร
ทางการแพทย์ และค่า t-test, F-Test สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า

1.คุณภาพชีวิตในการทำงาน ทั้งรายด้านและในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ในระดับมาก

  1. ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรทางการแพทย์ที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตและความรับผิดชอบ
    ต่อสังคมในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่แตกต่างกัน

          3. คุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์มีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อสังคมในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19

References

ชำนาญ รอดภัย. (2557). การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความจงรักภักดีของหอพักของนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย,8(1),146-148.

ฐิติรัตน์ ชะเอม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

เพ็ญนี ภูมิธรานนท์, นพพร ศรีวรวิไล และวิภารัตน์ จวนรมณีย์ (2558). ความรับผิดชอบต่อสังคมกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

อนรรฆ อิสเฮาะ. (2561). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม อำเภอเทพาจังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Carroll, A. (1991) The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward the Moral Management of Organizational Stakeholders. Business Horizons, 34, 39-48.

Kotler, P., & Lee, N. (2005). Corporate Social Responsibility: Doing the Most Good for Company and Your Cause. Wiley.

Walton, R.E. (1973). Quality of Working Life. Sloan Management Review, 15(1), 11-12.

World Business Council for Sustainable Development (WBCSD). (2000). Corporate Social responsibility: making good business sense. Retrieved May 15, 2022, from http://www.wbcsd.org/web/publications/csr2000.pdf

World Health Organization (WHO). (2020). Coronavirus Disease (COVID-19) Situation Reports. Retrieved May 13, 2022, from https://cdn.who.int/media/docs/defaultsource/searo/ thailand/2022_05_04_tha-sitrep-234-covid-19_th.pdf?sfvrsn=865f92a7_1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30