แนวทางการบริหารงานนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากัลยาณิวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6

ผู้แต่ง

  • นันทยา วงศ์ชัย หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ณัฐิยา ตันตรานนท์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบริหารงานนิเทศ, การนิเทศภายใน, กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากัลยาณิวัฒนา และ 2) พัฒนาแนวทางการบริหารงานนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากัลยาณิวัฒนา ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการสอบถามประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 81 คน จากนั้นทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการ จำนวน
10 คน จากโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการนิเทศภายใน จำนวน 5 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมของแนวทาง ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพและปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่พบคือการดำเนินการนิเทศภายในไม่เป็นไปตามแผนการนิเทศที่วางไว้และขาดความต่อเนื่อง 2) แนวทางการบริหารงานนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากัลยาณิวัฒนา มี 7 ขั้นตอน ได้แก่
(1) การวิเคราะห์ปัญหา (2) การวางแผนการนิเทศ (3) การสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศ (4) การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (5) การปฏิบัติการนิเทศ (6) การตรวจสอบและประเมินผล และ (7) การสรุป สะท้อนคิด
และนำผลการประเมินมาปรับปรุง ทั้งนี้ แนวทางการบริหารงานนิเทศภายในทั้ง 7 ขั้นตอน จำเป็นต้องดำเนินการตามหลักการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง จนเกิดวัฒนธรรมการนิเทศภายในที่เข้มแข็ง อันนำไปสู่การเป็นสถานศึกษาคุณภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนอย่างแท้จริง

References

จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2559). การนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ชนมณี ศิลานุกิจ, อำนวย ทองโปร่ง, รังสรรค์ มณีเล็ก, และสุวัฒน์ วิวัฒนานนท. (2563). รูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(1), 43-58.

นัยน์ปพร ปานกลัด. (2558). แนวทางการนิเทศภายในเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านอรุโณทัย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พฤหัส คงเทศ และอนุชา กอนพ่วง. (2562). รูปแบบการนิเทศภายในที่ส่งผลต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 198-211.

พศิน แตงจวง, ชาลี ภักดี, และฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์. (2564). ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนการสอนตามแนว STEM EDUCATION ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, (23)4, 268-281.

พิชญ์สิชา พงษ์พันแพงพงา และสำเริง บุญเรืองรัตน์ (2562). การนิเทศกับการวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 19(4),10-21.

ภิญโญ รัตนาพันธุ์. (2556). SOAR Analysis: เครื่องมือที่นำมาใช้แทน SWOT Analysis. วารสารวิทยาลัย

บัณฑิตศึกษาการจัดการ, 6(2), 7-20.

ระย้า คงขาว, มนสิช สิทธิสมบูรณ์ และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(1), 74-82.

รัตติยา มะโน. (2561). แนวทางการนิเทศภายในโรงเรียนที่มีประสิทธิผลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ละออ วันจิ๋ว และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2563). กลยุทธ์การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(4), 228-239.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎี กลยุทธ์ สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัฒนา หงสกุล, และเตือนใจ ดลประสิทธิ์. (2565). การประเมินความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี เขต 1. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 12(2), 288-300.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

ศรันย์ภัทร์ อินทรรักษาทรัพย์. (2558). แนวทางพัฒนาการนิเทศภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 (วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ศุภวรรณ สัจจพิบูล. (2560). แนวคิดการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 37(1), 204-222.

สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ สัจจารักษ์, นิพนธ์ บริเวธานันท์, อดุล นาคะโร, เอมอร นาคหลง, และสุวิชา วิริยมานุวงษ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(2),147-167.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2565. เชียงใหม่: ผู้แต่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เครื่องมือส่งเสริมการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา). กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิค.

สุรีรัตน์ เบญกูล และนันทิยา น้อยจันทร์. (2563). แนวปฏิบัติที่ดีของการนิเทศภายใน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(2), 109-120.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30