ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พรรณทิพย์ อย่างกลั่น คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • วัชธนพงศ์ ยอดราช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ

คำสำคัญ:

กระแสเงินสด, ความสามารถในการทำกำไร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษากระแสเงินสดและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ  2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงิน รายงานประจำปี จำนวน 486 บริษัท ระหว่างปี พ.ศ. 2560 - 2564 เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งได้ข้อมูลครบถ้วนทุกตัวแปร จำนวน 304 บริษัทโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับความสามารถในการทำกำไรได้แก่การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

 ผลการศึกษาพบว่า 1) กระแสเงินสดอิสระมีค่าเฉลี่ย 5,568,697.34 บาท และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 29,331,138.36 กระแสเงินสดจากการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ย 3,085,175.85 บาท และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  18,070,560.30 อัตรากำไรสุทธิมีค่าเฉลี่ย 7.92 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 42.35 อัตรากำไรขั้นต้นมีค่าเฉลี่ย 25.85 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 17.42 อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์มีค่าเฉลี่ย 4.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.47 และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของมีค่าเฉลี่ย 8.03 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 14.97 ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่ากระแสเงินสดอิสระและกระแสเงินสดจากการดำเนินงานมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกำไร ซึ่งประกอบด้วย อัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้กิจการควรคำนึงถึงการคงไว้ของกระแสเงินสดอิสระไว้ในกิจการเป็นจำนวนที่ไม่มาก ในขณะที่การดำเนินงานปกติของกิจการนั้นควรเน้นให้การดำเนินของกิจการเน้นการได้รับเงินสดจากการดำเนินงานให้ได้มากกว่าการจ่ายเงินสดจากการดำเนินงานเพื่อให้มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานคงเหลือเป็นบวกซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรจากกิจการและส่งผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนของผู้ลงทุนด้วย

References

ณัฎฐนันท์ กุลจิรัฐิติกาล และ ศิริพร กาญจนสุทธิแสง. (2549). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกระแสเงินสดกับความสามารถในการทำกำไรในอนาคต: บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (รายงานวิจัย). สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก https://www.set.or.th/th/company/companylist.html

เพชรี ขุมทรัพย์. (2546). วิเคราะห์งบการเงิน: หลักและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็นเพรส.

เพ็ญนิภา พรหมโคตร และ นงค์นิตย์ จันทร์จรัส. (2560). กระแสเงินสด ผลตอบแทนของหลักทรัพย์ และผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(3), 35-50.

ไพฑูรย์ กอบกาญจนพฤติ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับราคาตลาดของหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2561) เรื่องงบกระแสเงินสด. กรุงเทพฯ: สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Ali, U., Ormal, L., & Ahmad, F. (2018). Impact of free cash flow on profitability of the firms in Automobile sector of Germany. Journal of Economics and Management Sciences, 1(1), 57-67.

Amuzu, M. S. (2010). Cash flow ratio as a measure of performance of listed companies in emerging economies: The Ghana example. Unpublished PhD dissertation. Retrieved March, 12, 2021, from http://stclements.edu/grad/gradmaxw.pdf

Bhandari, S. B. & Iyer, R. (2013). Predicting business failure using cash flow statement based measures. Managerial Finance, 39(7), 667-676.

Habib, A. (2011). Audit firm industry specialization and audit outcomes: Insights from academic literature. Research in Accounting Regulation, 23(2), 114-129.

Hackel, K. S., Livnat, J., & Rai, A. (2000). A free cash flow investment anomaly. Journal of Accounting, Auditing & Finance, 15(1), 1-24.

Jensen, M. C. (1986). Agency costs of free cash flow, corporate finance, and takeovers. The American economic review, 76(2), 323-329.

Kamran, M. R., Zhao, Z., & Ambreen, S. (2017). Free cash flow impact on firm’s profitability: An empirical indication of firms listed in KSE, Pakistan. European Online Journal of Natural and Social Sciences, 6(1),146.

Maham, K. (2008). Model of free cash flow for shareholders. Journal of Accounting Research, 12.

Maksy, M. M. & Chen, G. T. (2014). Which Free Cash Flow Is Value Relevant? An Empirical Investigation. Journal of Accounting and Finance, 14(6), 189.

Nguyen, A., & Nguyen, T. (2018). Free cash flow and corporate profitability in emerging economies: Empirical evidence from Vietnam. Economics Bulletin, 38(1), 211-220.

Pindado, J., & De La Torre, C. (2009). Effect of ownership structure on underinvestment and overinvestment: empirical evidence from Spain. Accounting & Finance, 49(2), 363-383.

Richardson, S. (2006). Over-investment of free cash flow. Review of accounting studies, 11(2),159-189.

Wang, Y. S., Jiang, X., Liu, Z., & Wang, W. X. (2015). Effect of earnings management on economic value added: A China study. Accounting and Finance Research, 4(3), 9-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30