ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางเศรษฐกิจและความสามารถในการทำกำไรที่มีผลต่อการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100

ผู้แต่ง

  • ณัยญิกา สุจารี หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • พรรณทิพย์ อย่างกลั่น คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ, ความสามารถในการทำกำไร, การประเมินมูลค่าหุ้น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางเศรษฐกิจและความสามารถในการทำกำไรที่มีผลต่อการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET 100 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100 ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2564 ระยะเวลา 5 ปี รวมข้อมูลทั้งหมด 350 ข้อมูล ตัวแปรที่ใช้ไนการวิจัย คือ ตัวแปรอิสระ ด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ดัชนีผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี และอัตราเงินเฟ้อ ด้านความสามารถในการทำกำไร ได้แก่ อัตราผลตอบแทนกำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนกำไรจากการดำเนินงาน อัตราผลตอบแทนกำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น ตัวแปรตาม คือ การประเมินมูลค่าหุ้น ประกอบด้วย ราคาตลาดของหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น และราคาตลาดของหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด
ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจ ความสามารถ
ในการทำกำไร และการประเมินมูลค่าหุ้นได้แก่การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ 

ผลการศึกษาพบว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการประเมินมูลค่าหุ้นด้านราคาตลาดของหุ้นต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100 คือ และอัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรจากการดำเนินงาน อัตรากำไรสุทธิและ อัตราส่วนผลตอบแทนส่วนของ
ผู้ถือหุ้น มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการประเมินมูลค่าหุ้นด้านราคาตลาดของหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น

References

จิรัตน์ สังข์แก้ว. (2543). การลงทุน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชมพูนุท จินตนาวสาร และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2555). ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ, 2(4), 265-283.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2545). การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ส่วนสิ่งพิมพ์ฝ่ายสื่อสารองค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). การประเมินมูลค่าหุ้น. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.set.or.th/education/th/begin/stock_content05.pdf

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.set.or.th/education/th/begin/stock_content04.pdf

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). ประวัติความเป็นมาของตลาดหลักทรัพย์ฯ. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.set.or.th/th/about/overview/history_p1.html

ธนากร หมื่นแก้ว. (2562). ศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรที่มีต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นันทนา ศรีสุริยาภรณ์ (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและราคาตลาดของหลักทรัพย์กลุ่มธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปรียานุช เหมือนขาว (2556). บทความปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด, 3(2), 338-354.

ไพสรณ์ สูงสมบัติ. (2560). ความสัมพันธ์ของอัตราความสามารถในการกำทำไรและราคาตลาดของหลักทรัพย์ของกลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการ และวิจัย มหาวิทยาลัยภานันคตะวันออกเฉียงเหนือ, 2(4), 16-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30