ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา: ศูนย์ถันยรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช

ผู้แต่ง

  • สาลินี ชัยวัฒนพร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • สุนิสา พัดมา นักวิจัยอิสระ
  • ฉัณทิพย์ จำเดิมเผด็จศึก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ศูนย์ถันยรักษ์, โรงพยาบาลศิริราช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ถันยรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์
ถันยรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช จำแนกตามลักษณะบุคคล/ลักษณะงาน โดยมีรูปแบบการวิจัยเป็นเชิงปริมาณและใช้แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเป็นกรอบการวิจัย และกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานผู้ปฏิบัติงานที่ศูนย์ถันยรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 60 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 52 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานโดยทดสอบแบบ F-test และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่าพนักงานที่ศูนย์ถันยรักษ์โรงพยาบาลศิริราชกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 25-35 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ คือ ปริญญาตรี ระดับรายได้ คือ 15,001-25,000 บาท มากที่สุด และมีประสบการณ์ในการทำงาน 5-10 ปี มากที่สุด นอกจากนี้ผลการวิจัยตอบ 1) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ถันยรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช จำแนกตามลักษณะงานทั้ง 6 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 3.12) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมากโดยเรียงลำดับความสำคัญดังนี้ ด้านความมั่นคง (gif.latex?\bar{x}= 3.526) ด้านความสมดุลในการทำงานและชีวิตส่วนตัว
(gif.latex?\bar{x}= 3.526) ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ( gif.latex?\bar{x}= 3.199) ด้านนโยบายและการบริหารงาน (gif.latex?\bar{x}= 3.115) ด้านโอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (gif.latex?\bar{x}= 2.705)ด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ (gif.latex?\bar{x}= 2.686)
2) ปัจจัยลักษณะงานมีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยให้ความสำคัญเรียงตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ ด้านนโยบายและการบริหารอยู่ในระดับมาก (r = 0.752) ด้านความสมดุลในการทำงานและชีวิตส่วนตัว (r = 0.639) ด้านความมั่นคง (r = 0.623) ด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ (r = 0.450) ด้านโอกาสความก้าวหน้าที่การเงิน (0.412) และด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา (r = 0.365)  โดยผู้วิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า บริหารควรส่งเสริมในด้านความรู้ความสามารถและทักษะต่างๆ ของบุคลากรให้มีความรู้ความชำนาญในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ และควรสร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากรเพื่อประโยชน์สำหรับองค์กรต่อไปในอนาคต

References

จิตราพัชร์ กีรตินันทเจตน์. (2556). รูปแบบการจัดสวัสดิการที่พึงประสงค์ของพนักงาน บริษัท เอ็น เอชเคพรี ซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

ชนกันต์ เหมือนทัพ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 4(2), 103-120.

พิมพ์สิริ ทองปั้น. (2554). การศึกษาค่าจ้างและสวัสดิการของพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์จังหวัดลำพูน (การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัทฐา กรีหิรัญ. (2550). การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธนิษา บัวขาว. (2548). ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัท ดรีม เซ็นเตอร์ จำกัด (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

นิศาชล เรืองชู. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความภักดีในองค์กรของพนักงานธนาคารต่างชาติแห่งหนึ่งในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาหวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .

ประกายดาว วงษ์ทอง และคณะ. (2552). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกองอาคารสถานที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2557, จาก http://www.km.ru. ac.th/building/pra.doc

ปริญญา สัตยธรรม.(2550). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานกรณีศึกษา : บริษัท วาย เอช เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภูวนัย เกษบุญชู.(2550).ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการกองทัพเรือ: ศึกษากรณีข้าราชการสังกัดกองเรือภาคที่ 1 (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ยุรี ศิริชัยพัฒนา.(2548).ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานครหลังปรับปรุงโครงสร้างองค์การ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วันรวี รัตนสุนทร.(2548). ความพึงพอใจในการทำงานของผู้แทนยาบริษัทยาข้ามชาติในประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัทยาข้ามชาติ เอบีซี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิพุธ อ่องสกุล. (2555). แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอดีต ปัจจุบัน อนาคต. อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางธุรกิจ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักบริการข้อมูลและสารสนเทศ. (2556). ทัศนคติและความพึงพอใจในการทำงาน. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2556, จาก http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=315.0

ศูนย์ถันยรักษ์. (2537). ประวัติมูลนิธิถันยรักษ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2564, จาก https://www.thanyarak.or.th/center.php

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31