อิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ฉัณทิพย์ จำเดิมเผด็จศึก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุรเสกข์ พงษ์หาญยุทธ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นพวรรณ มุสิกบุตร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

โมบายแอพพลิเคชั่น, ส่วนประสมทางการตลาด, สินค้าออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่าเป็นเพศหญิงร้อยละ 70.25 เพศชาย 29.75 ตามลำดับ ช่วงอายุ 30-39 ปี ร้อยละ 49 รองลงมาอายุ 20-29 ปี ร้อยละ 20.25 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 35.5 รองลงมา ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 31.5 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่ 25,000-30,000 บาท โดยอิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด
ด้านผลิตภัณฑ์ ตามด้วย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านราคา

References

ธัญญพัสส์ เกตุประดิษฐ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เลือกซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ยุพเรศ พิริยพลพงศ์. (2557). ปัจจัยและพฤติกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โมบายแอพพลิเคชั่นซื้อสินค้าผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

รัชนี ไพศาลวงศ์ดี และ อิทธิกร ขำเดช. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเสื้อผ้าสตรีทางอินเตอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ, 3(1), 529-546.

วชิรวชัร งามละม่อม. (2558). ทฤษฎีการมีส่วนร่วม.ปทุมธานี: สถาบันวิชาการไทยวิจัยพัฒนาการจัดการ TRDM.

วารุณี ศรีสรรณ์, วรรณรพี บานชื่นวิจิตร และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครปริมณฑลและต่างจังหวัด.วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(67), 41-46.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2538). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2564). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน).

สุวิมล ติรกานันท์. (2557). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสรีวงษ์ มณฑา. (2552). กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

Brand Buffet. (2564). 13 เทรนด์พฤติกรรมช้อปคนไทย และกลยุทธ์แบรนด์บาลานซ์ช่องทางขาย “Online-Physical Shop-D2C”. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2021/ 06/thailand-future-shopper-2021-online-physical-shop-d2c-trends/

Heroleads. (2564). E-commerce คืออะไร? เจาะลึกความหมาย และโอกาสทำกำไรในธุรกิจนี้. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก https://th.heroleads.asia/blog/how-to-make-money-in-e-commerce/

Kotler, P. & Armstrong, G. (2014). Principles of Marketing (15th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control. (9th ed.). NJ: Prentice Hall, Upper Saddle River.

Kotler, P. (2003). Marketing Management. (11th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Positioning Magazine. (2560). คนไทยช้อปออนไลน์พุ่งกระฉูด เป็นอันดับ 2 รองจากจีน. ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2565, จาก https://positioningmag.com/1116556

Salam, A. F., Iyer, L., Palvia, P., & Singh, R. (2005). Trust in e-commerce. Communications of the ACM, 48(2), 73-77.

Schiffman, L. G., & Kanuk. L. L. (2004). Consumer behavior (8th ed.). New Jersey: Pearson Education International.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30