การปฏิบัติงานเชิงผลสัมฤทธิ์ของพนักงานโรงแรมเทวัญดารา รีสอร์ท แอนด์ สปา

ผู้แต่ง

  • อธิวัฒน์ อัศวศิรโยธิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นพดล บุรณนัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เสาวนีย์ พากเพียร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงาน, นโยบายองค์การ, ความผูกพันต่อองค์การ, ความคิดสร้างสรรค์, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมเทวัญ-ดารา รีสอร์ท แอนด์ สปา กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานโรงแรมเทวัญดารา รีสอร์ท แอนด์ สปา จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การหาค่าร้อย ค่าความ ถี่ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้สูตร t-test independent
จากผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของพนักงานต่อการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมเทวัญดารารีสอร์ทแอนด์สปา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และหากพิจารณาเป็นรายข้อ ลำดับแรก ด้านการรับรู้นโยบายองค์กร อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา ด้านความผูกพันต่อองค์การ ด้านความคิดสร้างสรรค์
ด้านความรับรู้ และด้านการมีส่วนร่วม เรียงตามลำดับ ผลตามสมมติฐานการวิจัย 1) พนักงานที่มีเพศ และอายุ ต่างกัน มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมเทวัญดารารีสอร์ทแอนด์สปา โดยภาพรวม ด้านการรับรู้นโยบายองค์กร ด้านความผูกพันต่อองค์การ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านความรับรู้ ไม่แตกต่างกัน 2) พนักงานที่มีระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมเทวัญดารารีสอร์ทแอนด์สปา โดยภาพรวม ด้านการรับรู้นโยบายองค์กร ด้านความผูกพันต่อองค์การ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านความรับรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ชิติกร บุญประคอง. (2550). การรับรู้บรรยากาศองค์การกับความทุ่มเทในการปฏิบัติงานและการพัฒนาตนเอง กรณีเฉพาะพนักงาน: บริษัท อิงค์เจทออโต้เวนเจอร์ จำกัด (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ปิยะพรรณ พันปี. (2548). การรับรู้นโยบายองค์การ ความผูกพันธ์ต่อองค์การกับผู้ปฏิบัติงานของราชการกรมราชองครักษ์ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พรทิพย์ ไชยฤกษ์ และคณะ. (2555). ความผูกพันต่อองค์กรและพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรสถาบัน วิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เยาวลักษณ์ ศิริสุวรรณ. (2556). ความผูกพันของสมาชิกกับองค์กร. ค้นเมื่อ 25 เมษายน 2562, จาก https://www.stou.ac.th/study/sumrit/3-60/page1-3-60.html

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2551). การนำนโนบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

Koufman, F. (1949). H.F. Participation Organized Activities in Selected Kentucky Localities. Agricultural Experiment Station Bulletins, 4(2), 5-50.

Mowday, R. T., Porter, L.W. & Steer, R.M. (1982). Employee Organization Linkage: The psychology of commitment, absenteeism and turnover. New York: Academic Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30