ปัจจัยเชิงสาเหตุของการควบคุมโครงการก่อสร้างอาคารที่ส่งผลต่อคุณภาพการออกแบบอาคาร และความสำเร็จของการก่อสร้าง

ผู้แต่ง

  • ธีร มฤทุสาธิรสุ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • วิชิต อู่อ้น วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การวางแผนทรัพยากร, ความสามารถของผู้รับเหมา, นโยบายการก่อสร้าง, การควบคุมโครงการก่อสร้างอาคาร, คุณภาพการออกแบบอาคาร, ความสำเร็จของการก่อสร้าง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการควบคุมโครงการก่อสร้างอาคาร, คุณภาพการออกแบบอาคาร และความสำเร็จของการก่อสร้าง 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุของการควบคุมโครงการก่อสร้างอาคารที่ส่งผลต่อคุณภาพการออกแบบอาคาร และความสำเร็จของการก่อสร้าง และ 3) เพื่อสร้างแบบจำลองของปัจจัยเชิงสาเหตุของการควบคุมโครงการก่อสร้างอาคารที่ส่งผลต่อคุณภาพการออกแบบอาคาร และความสำเร็จของการก่อสร้าง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า การวางแผนทรัพยากรส่งผลต่อการควบคุมโครงการก่อสร้างอาคาร การวางแผนทรัพยากรส่งผลต่อคุณภาพการออกแบบอาคารผ่านการควบคุมโครงการก่อสร้างอาคาร ความสามารถของผู้รับเหมาส่งผลต่อการควบคุมโครงการก่อสร้างอาคาร ความสามารถของผู้รับเหมาส่งผลต่อคุณภาพการออกแบบอาคารผ่านการควบคุมโครงการก่อสร้างอาคาร นโยบายการก่อสร้างส่งผลต่อการควบคุมโครงการก่อสร้างอาคาร นโยบายการก่อสร้างส่งผลต่อคุณภาพการออกแบบอาคารผ่านการควบคุมโครงการก่อสร้างอาคาร การควบคุมโครงการก่อสร้างอาคารส่งผลต่อคุณภาพการออกแบบอาคารและคุณภาพการออกแบบอาคารส่งผลต่อความสำเร็จของการก่อสร้าง ฉะนั้น ผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารสามารถนำผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปเพิ่มคุณภาพการออกแบบอาคารและความสำเร็จของการก่อสร้าง เพื่อระบุการวางแผนทรัพยากร ประกอบกับความสามารถของผู้รับเหมา และนโยบายการก่อสร้าง ที่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารสามารถนำไปสร้างคุณภาพการออกแบบอาคารและความสำเร็จของการก่อสร้างที่ดีได้

References

ศูนย์วิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (2564). ลักษณะปัญหา สาเหตุ และแนวทางการแก้ไขต่าง ๆ ในการก่อสร้างอาคาร.ค้นเมื่อ 27 มกราคม 2554, จาก www.krungsri.com/th/research/industry

Fernández-i-Marín, X., Knill, C., and Steinebach, Y. (2021). Studying policy design quality in comparative perspective. American Political Science Association, 115(3), 931-947.

Galle, W., Temmerman, N., Cambier, C., and Elsen, S. (2019). Building a circular economy. design qualities to guide and inspire building designers and clients. Vrije Universiteit Brussel - VUB Architectural Engineering, Belgium.

Habert, G. (2013). Environmental impact of Portland cement production. Woodhead Publishing Series in Civil and Structural Engineering. Cambridge: Woodhead Publishing.

Imran, A. and Khan, A.H. (2020). https://Evaluation of Quality Control Practices in Building Construction of Pakistan. Mehran University Research Journal of Engineering & Technology, 38(1), 69-82.

Mahamid, I. (2021). Effects of design quality on delay in residential construction projects. Journal of Sustainable Architecture and Civil Engineering, 28(1), 118-129.

Rizka, M. and Isvara, W. (2021). Schedule risk assessment in high-rise building construction projects with joint operation scheme by foreign contractor in Indonesia. International Journal of Scientific and Research Publications, 11(7), 49.

Saka et al. (2021). Relationship between the Economy, Construction Sector and Imports in Nigeria. International Journal of Construction Management, December 2020.

Suratkon, A., Chan, C.M., and Jusoh, S. (2016). Indicators for measuring satisfaction towards design quality of buildings. International Journal of Geomate, 11(24), 2348-2355.

Westerveld, E. (2003). The Project Excellence Model: linking success criteria and critical success factors. International Journal of Project Management, 21(1), 411-418.

Yenyuak, C. (2021). Project Management. Pathumthani: Rangsit University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31