ปัจจัยเชิงสาเหตุของจำนวนแรงงานที่เหมาะสมที่ส่งผลต่อ สมรรถนะขององค์กรสำหรับสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน

ผู้แต่ง

  • ธนญา หงสไกร วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • วิชิต อู่อ้น วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การจัดการทรัพยากรมนุษย์, แรงจูงใจในการทำงาน, การทำงานเป็นทีม, สมรรถนะขององค์กร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อจำนวนแรงงานที่เหมาะสม และสมรรถนะขององค์กรสำหรับสถาบันอาชีวศึกษาภาคเอกชน และ 2) สร้างแบบจำลองของปัจจัยเชิงสาเหตุของจำนวนแรงงานที่เหมาะสมที่ส่งผลต่อสมรรถนะขององค์กรสำหรับสถาบันอาชีวศึกษาภาคเอกชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อจำนวนแรงงานที่เหมาะสมได้แก่ ปัจจัยด้านกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยด้านการบริหารช่วงเวลาทำงาน ปัจจัยด้านแรงจูงใจการทำงานเป็นทีม  ส่วนปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อสมรรถนะขององค์การ  ได้แก่ ปัจจัยด้านกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยด้านการบริหารช่วงเวลาทำงาน  ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงานเป็นทีม  2) แบบจำลองของปัจจัยเชิงสาเหตุพบว่าจำนวนแรงงานที่เหมาะสมส่งผลต่อสมรรถนะขององค์กร ดังนั้น สถานศึกษาประเภทอาชีวศึกษาสามารถจัดแผนการพัฒนาในเรื่องของด้านกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การบริหารช่วงเวลาทำงาน แรงจูงใจการทำงานเป็นทีม เพื่อให้เจ้าของสถาบันการอาชีวศึกษาอื่นๆ สามารถระบุจำนวนแรงงานที่เหมาะสม และสามารถกำหนดสมรรถนะขององค์กรได้

References

มหาวิทยาลัยมหิดล งานจัดการความรู้. (2564). สมรรถนะหลักขององค์การ (Core Competency). Retrieved March 20, 2022, from https://www2.si.mahidol.ac.th/km/knowledgeassets/ definition/1963/

สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2553). การบริหารเวลา (Time Management). กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย

Malikov, K., Demirbag, M., Kuvandikov, A., and Manson, S. (2021). Workforce reductions and post-merger operating performance: The role of corporate governance, Journal of Business Research, 122, 109-120.

Matachowski, B. and Korytkowski, P. (2016). Competence-based performance model of multi-skilled workers. Computers & Industrial Engineering, 91, 165-177.

McClelland, D.C.. (1973). Testing for competence rather Than for intelligence. American Psychologist, 28, 1-4.

Snoo, C.D., Wezel, W.V., and Jorna, R.J. (2011). An empirical investigation of scheduling performance criteria. Journal of Operations Management, 29(3), 181-193.

Tabassi, A.A. and Bakar, A.H.A. (2009). Training, motivation, and performance: The case of human resource management in construction projects in Mashhad, Iran. International Journal of Project Management, 27(5), 471-480.

Varianou-Mikellidou, C., Boustras, G., Nicolaidou, O., Dimopoulos, C., and Mikellides, N. (2021). Measuring performance within the ageing workforce. Safety Science, 140, 105286.

Waters, K.P., Zuber, A., Willy, Kiriiny, R.N. Waudo, A.N., Oluoch, T., Kimani, F.M., Riley, P.L. (2013). Kenya's Health Workforce Information System: A model of impact on strategic human resources policy, planning and management. International Journal of Medical Informatics, 82(9), 895-902.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31