รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะ เขตเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ธัชฎามาศ อุไรวรรณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่, การจัดบริการสาธารณะ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ 2) ศึกษาปัจจัยแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะ และ 3) สังเคราะห์หารูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะเขตเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ใช้วิธีวิจัยแบบผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตการปกครองเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกแบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล ปลัดเทศบาล หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการกอง และประธานชุมชน จำนวน 20 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยทำการวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลแล้วนำมาเขียน เป็นข้อสรุปเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ส่วนการจัดบริการสาธารณะ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะ ได้แก่ ด้านการร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ด้านความรับผิดชอบโดยตรงต่อสาธารณะ ด้านการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ ด้านการบริหารแบบมืออาชีพ ด้านการมุ่งเน้นตัวชี้วัด เป้าหมาย และผลลัพธ์ ด้านการเน้นลูกค้าและผู้รับการบริการ และด้านเน้นการแข่งขัน มีประสิทธิภาพในการทำนาย และ 3) รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะค้นพบรูปแบบดังประเด็นดังนี้ การกำหนดนโยบาย เป้าหมายขององค์กรให้ชัดเจน ลดบทบาทและปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานให้มีขนาดเล็กลง เพื่อเพิ่มความสามารถในการสร้างทีมผู้บริหาร รวมทั้ง การประยุกต์ใช้วิธีการจัดจ้าง และการแข่งขันประมูลงานเพื่อลดต้นทุน ส่งเสริมให้บุคลากรได้พัฒนาสมรรถนะของตนเอง นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาให้บริการประชาชน เปิดโอกาสประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน พัฒนา และติดตามประเมินผล พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนทราบอย่างเปิดเผย

References

กิตติพงษ์ พิพิธกุล, ภูวนิดา คุนผลิน และกนกอร บุญมี. (2562). การจัดการภาครัฐแนวใหม่กับประสิทธิผล การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(4),189-198.

กริช เทียมสุวรรณ์. (2560). การจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ตามการรับรู้ของประชาชน (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2563). รายงานผลการวิจัยเชิงสำรวจประเมิน ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการงานบริการสาธารณะของเทศบาลนครภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (รายงานชการวิจัย). มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2558). สถิติพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง.

ณัฐพงษ์ สัมฤทธิ์เดชขจร. (2557). การจัดระบบบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี: ศึกษาเฉพาะเขตอำเภอเมือง (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2551). แนวคิด ทฤษฎีและหลักการรัฐประศาสนศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธัมมาภรณ์ ศรีเคลือบ และพัฒน์ศิณ สำเริงรัมย์. (2559). การบริการสาธารณะของเทศบาล ศึกษากรณีเทศบาลตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา,ฉบับพิเศษ, 500-512.

ธิษณารินทร์ เหลืองจิรโชติกาล. (2564). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการจัดบริการสาธารณะของเทศบาลในจังหวัดชุมพร (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ธีรยุทธ ชะนิล และเกรียงไกร ข่ายม่าน. (2562). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม”, วันที่ 5-6 สิงหาคม 2562 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550, 755-766.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2554). มาตรฐานใหม่ของการจัดทำบริการสาธารณะระดับชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ปิยะ กล้าประเสริฐ. (2559). การประเมินประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2),215-227.

เพชรรัตน์ เอี่ยมสอาด. (2559). การจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครสวรรค์. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

รัฐกิจ หิมะคุณ. (2557). การบริหารจัดการกิจการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.). วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17, 151-164.

วินัย วงศ์อาสา และภัชราภรณ์ ไชยรัตน์. (2559). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9, 83-99.

วิภาภัทร์ ธิโนชัย. (2562). ปัจจัยการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน. (2554). การนำตัวแบบทางการตลาดมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการภาครัฐเชิงรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 1(1), 51-62.

สมบูรณ์ ชมพูผุดผ่อง. (2556). การบริการสาธารณะแนวใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2558). ความรู้เกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2551-2555). กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.

สำนักงานเทศบาลนครภูเก็ต. (2565). เกี่ยวกับจำนวนประชากร. ค้นเมื่อ 6 มกราคม 2565, จาก https://www.phuketcity.go.th/files/com_develop/2019-10_5c1773888f4d8de.pdf

สุทิน ทัดรัตน์. (2557). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ของตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สุธินี เหรียญเครือ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สุนารี สุกิจปาณีนิจ. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะเชิงผลสัมฤทธิ์ของเทศบาล อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์. (2555). บริการสาธารณะกับบทบาทองค์กรส่วนท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 6 มกราคม 2565, จาก http://wwwgotoknow.org/posts/422467

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2560). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่: กระแสหลักของการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานภาครัฐ. ค้นเมื่อ 6 มกราคม 2565, จาก www.lppreru.com/…/download.php

อุดม ทุมโฆสิต. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชา รอ.6004 องค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Caiden, G. E. (1991). Administrative Reform Comes of Age. New York: Walter de Gruyter.

Ferlie, E. et al. (1996). The New Public Management in Action. Oxford: Oxford University Press.

Hood, C. (1991). A public management for all seasons?. Public Administration, 69(1), 3-19.

Hughes, O.E. (1998). Public management and administration (2nded). New York: St. Martin’s Press.

Norman, F. (2002). Public Sector Management. London: Harvester Wheat sheaf.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rded). New York. Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31