การตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, อาชีพ, นักศึกษาบทคัดย่อ
อาชีพมีความสำคัญกับทุกคน โดยทำให้บุคคลได้รับคุณค่า เป็นแหล่งที่มาของรายได้ ทำให้บุคคลได้รับปัจจัยและสิ่งอำนวยความสุขความสบายตามควรแก่อัตภาพ มีความก้าวหน้าในชีวิต ตำแหน่งชื่อเสียง เกียรติยศ ได้รับความนิยมยกย่อง และการยอมรับจากผู้อื่น การตัดสินใจเลือกอาชีพเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนเพื่อช่วยให้บุคคลสามารถสร้างทางเลือกทางใดทางหนึ่งที่ผ่านการพิจารณาเห็นว่าเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยภายส่วนบุคคล กับการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายในกรุงเทพและปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและทดสอบโดยใช้ตารางไขว้ (crosstabulation) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายในด้านเพศ เกรดเฉลี่ยสะสม ความถนัดทักษะ/ความสามารถพิเศษความถนัดในสาขาที่ได้เรียนมา รายได้ต่อเดือนของครอบครัว ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพแตกต่างกัน ผลการวิจัยครั้งนี้ได้ข้อมูลสารสนเทศให้หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ทราบปัจจัยในการเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษานำไปประกอบการวางแผนพัฒนาหลักสูตรต่อไป
References
บุษกร จินต์ธนาวัฒน์. (2558). แนวทางการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 2(2), 13-30.
ศิริวรรณ ไตรสรลักษณ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของบัณฑิตกรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี (การค้นคว้าอิสระการศึกษาตามบริหารหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
อรอนงค์ ธัญญะวัน. (2539). การแนะแนวอาชีพ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Holland, J. L. (1973). Making Vocational Choice: A Theory o Career. New Jersey: Prentice-Hall.
Reeder, W. (1971). Partial Theories from the 25 Year Research Program on Directive Factor in Believer and Social Action. New York: McGraw hill.
Super, D. E. (1970). Manual Work Values Inventory. Boston: Houghton Mifflin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว