รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพเครือข่ายจิตอาสาประชาสังคม ด้านการแก้ไขปัญหาความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ธนวัชระ วิเศษศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เจตน์สฤษฏิ์ อังศุกาญจนกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • พิเศษ ศิริเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • โมรยา วิเศษศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพเครือข่ายจิตอาสาประชาสังคม, การแก้ไขปัญหาความมั่นคง, 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพเครือข่ายจิตอาสาประชาสังคม
2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพเครือข่ายจิตอาสาประชาสังคมด้านการแก้ไขปัญหาความมั่นคง และ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพเครือข่ายจิตอาสาประชาสังคมด้านการแก้ไขปัญหาความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้วิธีวิจัยเชิงผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านเครือข่ายจิตอาสาประชาสังคมและเคยปฏิบัติงานด้านการมีส่วนร่วมแก้ไขความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งเป็นผู้บริหารที่มีประสบการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง จำนวน 15 คน
และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพเครือข่ายจิตอาสาประชาสังคม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุทุกด้านส่งผลต่อประสิทธิภาพเครือข่ายจิตอาสาประชาสังคมด้านการแก้ไขปัญหาความมั่นคง และ
3) รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพเครือข่ายจิตอาสาประชาสังคม สำหรับงานวิจัยครั้งนี้ คือ “COA MODEL” จำนวน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) นวัตกรรมการบริหารเครือข่ายจิตอาสาประชาสังคมเพื่อความมั่นคง
2) นวัตกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเพื่อความมั่งคั่ง และ 3) นวัตกรรมการบูรณาการทุกภาคส่วน
เพื่อความยั่งยืน ผลของการวิจัยครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อค้นพบที่ได้ไปใช้ในการบริหารและการจัดการรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพเครือข่ายจิตอาสาประชาสังคมได้ต่อไป

References

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. (2560). พื้นที่ภาคใต้. สืบค้นเมื่อ

พฤษภาคม 2565, จาก https://www.isoc.go.th/missionlist.php?unit_id=149

การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์, สหัสชัย มหาวีระ และ อณิมา สุวรรณดี. (2564). การจัดทำคู่มือแผนงาน/โครงการด้านกิจการพลเรือน จชต. กรุงเทพฯ: ฝ่ายกิจการพลเรือน ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก (ฝกร.ศปก.ทบ.).

จีระ หงส์ลดารมภ์. (2561). บทเรียนจากความจริง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.naewna.com/politic/columnist/34110

ซากีย์ พิทักษ์คุมพล. (2560). บทสำรวจการศึกษาความขัดแย้งและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในรอบทศวรรษ (พ.ศ. 2547-2557). สงขลา: สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.

ติณณภพ เตียวเจริญกิจ. (2563). สันติวิธีในนโยบายความมั่นคงของไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารการบริหารปกครอง, 9(1), 305-343.

บุรฉัตร จันทร์แดง, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และ สัญญา เคณาภูมิ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. วารสารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19(4), 235-244.

ปณิธาน วัฒนายากร. (2564). ขบวนการจัดตั้งกับความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้:แรงจูงใจการขับเคลื่อนและแนวทางแก้ไข. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 10(2), 76-91.

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (1) ประเด็นความมั่นคง (พ.ศ. 2561-2580). (2560). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (1) ประเด็นความมั่นคง (พ.ศ.2561-2580). สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565, จาก http://nscr.nesdb.go.th/wpcontent/uploads/2019/04/01-ความมั่นคง.pdf

เศษ ศิริเกษม และ ธนวัชระ วิเศษศรี. (2562). ถอดบทเรียน ทปค. กรุงเทพฯ: ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก กรมกิจการพลเรือนทหารบก.

มะลิ ประดิษฐแสง. (2561). ความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของอาจารย์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

รัถยานภิศ พละศึก และคณะ. (2561). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 231-238.

วิจารณ์ พานิช. (2560). มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคมที่สหราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: สกว.

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, (2560). การปฏิรูปความมั่นคงของไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. (2562). เอกสารศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) เรื่อง “อนาคต/ทิศทางการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้”. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. (2564). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (peace survey) ครั้งที่ 6. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และ รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการ.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2564). คู่มือการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. กรุงทพฯ: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

Anderson, M., et al. (2020). Social and Community Participation Interventions for Individuals with Disabilities: An Evidence-Based Practice Project. Retrieved May 1, 2022, from Sophia, the St. Catherine University repository website: https://sophia.stkate.edu/ ot_grad/15

Askew, M. (2007). Conspiracy, Politics, and a Disorderly Border: The struggle to comprehend insurgency in Thailand’s Deep South. Singapore: East-West Center. Washington and ISEAS.

Bloom, Kathleen. (1975). Social elicitation of infant vocal behavior. Journal of Experimental Child Psychology, 20(1), 51-58.

Choi, Y. J., Jeon, B. J. & Kim, H. W. (2021). Identification of key cyberbullies: A text mining and social network analysis approach. Telematics and Informatics, 56, 101-104.

Chucherd, W. (2022). Determining long-term strategies for solving the insurgency problem in Areas of the three southern provinces. Retrieved May 1, 2022, from http://www.geocities.ws/wichai_chucherd/southstrategy.html

Creswell, J. W. (2014). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches. (4th ed.). SAGE Publications.

Gerstein, D. M. et al. (2018). Managing International Borders: Balancing Security with Licit Flow of People and Goods. Perspective Expert Insights on a Timely Policy Issue.

Grace, J. B. (2008). Structural Equation Modeling for Observational Studies. Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.

Gross-Hemmi, M. H., et al. (2021). Detecting subgroups in social participation among individuals living with spinal cord injury: a longitudinal analysis of community survey data. Spinal Cord, 59(4), 419-428.

Lauten-Weiss, J. & Ramesohl, S. (2021). The circular business framework for building, developing and steering businesses in the circular economy. Sustainability, 13(2), 963.

Lei, Y. & Qiu, X. (2021). Research on the Evaluation of Cross-Border E-Commerce Overseas Strategic Climate Based on Decision Tree and Adaptive Boosting Classification Models. Frontiers in psychology, 12, 1-10.

Morgunova, E. P. & Bolkina, G. I. (2021). Influence of External Environment Analysis on the Competitiveness of Business Operations of an Industrial Enterprise (Evidence from Mining and Metallurgical Industry). IOP Conference Series: Earth and Environmental Science, 666(6), 062037). IOP Publishing.

Oller, D. et al. (2019). Language Origins Viewed in Spontaneous and Interactive Vocal Rates of Human and Bonobo Infants. Frontiers in psychology, 10, 1-18.

Rizzi, E., Jagacinski, R. J. & Bloom, E. J. (2021). Spatio-Temporal Flexibility of Attention Inferred from Drivers’ Steering Movements. Journal of Motor Behavior, 53(6), 758-769.

Sapolsky, R. M. (2017). Behave: The Biology of Humans at Our Best and Worst. Penguin Press.

Southern News Center. (2020). 16 Years of Southern Fire. Retrieved May 1, 2022, from https://www.isranews.org/content-page/67-south-slide/84129-sixteen.htm

Turhan & Yıldız (2022). Turkey’s external differentiated integration with the EU in the field of migration governance: The case of border management. In The Routledge Handbook of Differentiation in the European Union. Taylor & Francis.

UNWTO. (2016). NWTO Annual Report 2016. World Tourism Organization (UNWTO).

U.S. Bureau of Transportation Statistics. (2020). Border Crossing and Entry Data. Retrieved January 15, 2022, from https://www.bts.gov/content/border-crossing-entry-data

Vangen, S. & Huxham, C. (2010). Introducing the Theory of Collaborative Advantage. In S. Osborne (Ed.), New Public Governance: Emerging perspectives on theory and principle of public governance. New York: Routledge.

Wahlström, M. & Törnberg, A. (2021). Social media mechanisms for right-wing political violence in the 21st century: Discursive opportunities, group dynamics, and co-ordination. Terrorism and political violence, 33(4), 766-787.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31