การพัฒนาตนเองเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษา บริษัท กิจเจริญไทยอุบล จำกัด (Big-Group)

ผู้แต่ง

  • กฤติศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชาญเดช เจริญวิริยะกุล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การาพัฒนาตนเอง, ประเทศไทย 4.0, ทักษะทางอาชีพที่หลากหลาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาตนเองเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 2) เปรียบเทียบการพัฒนาตนเองโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ปัญหาในการพัฒนาตนเองเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ของพนักงานบริษัท กิจเจริญไทยอุบล จำกัด (Big-Group) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการดำเนินการโดยทำการศึกษาในเชิงปริมาณ กับกลุ่มตัวอย่างของพนักงานจำนวน 100 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างเป็นระบบจากพนักงานจำนวนทั้งหมด 150 คน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การปรียบเทียบกับปัจจัยส่วนบุคคลโดยการวิเคราะห์ Independent t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)  ผลการศึกษาพบว่า 1) พนักงานมีระดับการพัฒนาตนเองในด้านความหลากหลายทางอาชีพมากที่สุด รองลงมาคือด้านระบบพี่เลี้ยง ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการสร้างสภาวะผู้นำ ตามลำดับ 2) พนักงานมีการพัฒนาตนเองที่ไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ยกเว้นการพัฒนาตนเองด้านความหลากหลายของทักษะทางอาชีพระหว่างผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 9,000-15,000 บาท และผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท โดยทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี LSD และ Scheffe พบว่ามีการตอบแบบสอบถามแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัญหาในการพัฒนาตนเองเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 คือ ด้านความหลากหลายของทักษะทางอาชีพ และด้านเทคโนโลนีสารสนเทศตาม ลำดับ

References

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส.

จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2546). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2556). การจัดการทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

พระบุญใหม่ วงศ์หาญ. (2555). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา (การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564,จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สุริศา ไขว้พันธ์. (2555). การศึกษาแนวทางการนา ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring system) มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายงานหลักของสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

อภิญญา พิมพะ. (2556). การศึกษาความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของนักบริหาร กรณีศึกษา:กรมบัญชีกลาง (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Strauss, W., & Howe, N. (1991). Generations: The history of American’s future, 1584 to 2069. New York: Quill William Morrow.

Wongkitrongrueng, W., & Jottalerk, A. (2011). Rcthinking How Student learn. Bangkok: 21st Century skills: Open world pulishing.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31