การบริหารการจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของเทศบาล
คำสำคัญ:
การจัดบริการสาธารณะ, สาธารณสุข, เทศบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการบริหารการจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของเทศบาล ศักยภาพของเทศบาล นโยบายภาครัฐ สถานการณ์ สภาพแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของเทศบาล 2) ทดสอบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารการจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของเทศบาล และ 3) นำเสนอแนวทางของการบริหารการจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของเทศบาล โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย (1) นายกเทศมนตรี/รองนายกเทศมนตรี (2) ปลัดเทศบาล/รองปลัดเทศบาล (3) ผู้อำนวยการกองการแพทย์/ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข (4) ผู้อำนวยการโรงพยาบาล/หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุข และ (5) แพทย์/พยาบาลวิชาชีพ ของเทศบาล ตามประเภทของเทศบาล คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร จำนวน 375 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือแบบสอบถาม สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย
(1) นายกเทศมนตรี (2) ปลัดเทศบาล (3) ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข/กองการแพทย์ของเทศบาล โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เทศบาลละ 3 คน รวม 18 คน และผู้แทนจาก สปสช. จำนวน 2 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องครบถ้วน รวมทั้งสิ้น 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครสร้าง และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับการบริหารการจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของเทศบาล อยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.44 รองลงมาคือศักยภาพของเทศบาลมีค่าเฉลี่ย 4.24 ส่วนระดับนโยบายภาครัฐ สถานการณ์สภาพแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.70 3.91 และ 4.16 ตามลำดับ 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารการจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของเทศบาลมากที่สุด คือ ศักยภาพของเทศบาล มีอิทธิพลทั้งทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.93 และ 0.06 ตามลำดับและ ขนาดของอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.99 รองลงมาคือนโยบายภาครัฐ การมีส่วนร่วมของประชาชน และสถานการณ์สภาพแวดล้อม มีขนาดของอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.39 0.17 และ 0.04 ตามลำดับ และ
3) เทศบาลควรจัดทำภารกิจในระดับปฐมภูมิและทุตติยภูมิระดับต้นเพราะมีความเกี่ยวพันกันเชิงพื้นที่ ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขควรจัดทำภารกิจในระดับทุติยภูมิขั้นสูงและตติยภูมิ รวมทั้งภารกิจการสนับสนุนทางวิชาการเพื่อลดความซ้ำซ้อน รัฐควรมีการกระจายอำนาจและกำหนดภารกิจ บทบาทหน้าที่และอำนาจของเทศบาลให้ชัดเจน และควรมีการยกระดับขนาดของเทศบาลให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ให้มีประชากรจำนวนมากพอแก่การจัดทำภารกิจด้านสาธารณสุขในลักษณะการประหยัดต่อขนาดและเป็นการเพิ่มศักยภาพของเทศบาล
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2562). มุมมองใหม่การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: บริษัทธรรมสารจำกัด.
ธนาวิทย์ บึงมุมและวิษณุ สุมิตสวรรค์(2561).การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการสาธารณะของท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลพังทุยอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารปกครอง,7(2),356-375
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (2542 พฤศจิกายน 17 ), ราชกิจจานุเบกษา, น.48.
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496. (2496 กุมภาพันธ์ 17), ราชกิจจานุเบกษา, น. 222
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545. (2545 ตุลาคม 2), ราชกิจจานุเบกษา, น. 14/2
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534. (2534 กันยายน 5), ราชกิจจานุเบกษา, น.38
ยุทธศักดิ์ พันธุ์ภิญญาและสัญญา เคนาภูมิ (2561). ทิศทางการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ,12(3), 160-168.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560. (2560 เมษายน 6), ราชกิจจานุเบกษา, น 1-90.
วุฒิสาร ตันไชย.(2559). รูปแบบและประเภทการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ :สถาบันพระปกเกล้า
ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2556). ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนในการจัดการสุขภาพ (รายงานวิจัย). สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).
สัญญา เคณาภูมิ และบุรฉัตร จันทร์แดง. (2562). ตัวแบบทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ.วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น,3(1), 95-106.
อรทัย ก๊กผลและสิริณัฏฐ์ เพชรศรีชาติ(2565).รายงานสถานการณ์การกระจายอำนาจ ประจำปี พ.ศ. 2564: บทสำรวจว่าด้วย บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการวิกฤติท่ามกลางการแพร่ระบาด ของ โควิด-19. ชนนทบุรี: เอ.พี. กราฟค ดีไซน.
อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี. (2558). ความพร้อมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการด้านสุขภาพ กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในประเทศไทย. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 8(1), 1–15.
Andrew, C., & Stiefel, M. (1980).Inquiry into Participation: A Research Approach. Geneva: UNRISD.
Bergman, S. (1998). Swedish Models of Health Care Reform: A Review and Assessment. International Journal of Health Planning and Management, 13, 91-106.
Bossert, T.(1998). Analyzing the Decentralization of Health Systems in Developing Countries: Decision Space, Innovation, and Performance. Soc. Sci. Med., 47, 1513-27.
Gillies, P. (1998). The Effectiveness of Alliances and Partnerships for Health Promotion. Health Promotion International, 13, 1-21.
Leach and Stewart. (1992). Local Government: Its Role and Function. New York: Joseph Rowntree Foundation.
Millet, John D. (1954). Management in the Public Service. New York: McGraw Hill Book Company.
Wheelen, T. L. and Hunger, J. D. (2002). Strategic Management and Business Policy. (8th Ed). Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว