บริบทการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติโรงเรียนมาตรฐานสากล กรณี สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดเขตพื้นที่สำนักงานการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
คำสำคัญ:
บริบทการดำเนินงาน, โรงเรียนมาตรฐานสากล, มัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ 1) เพื่อศึกษาบริบทการดำเนินงานของสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย นักวิชาการด้านการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ SWOT Analysis ตามองค์ประกอบที่กำหนดตามวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อประกอบการนำเสนอข้อค้นพบจากการวิจัยโดยวิธีการพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า 1) บริบทการดำเนินงานของสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากลในด้านการรับรู้ และ เข้าใจแนวปฏิบัติ พบว่า ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามหลักการที่ได้กำหนดเป็นแนวปฏิบัติโรงเรียนมาตรฐานสากล มีความรู้ ความเข้าใจในแนวปฏิบัติได้ชัดเจนถึงเป้าหมายและ 2) แนวทาง และผลลัพธ์ที่ต้องการจากการปฏิบัติตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากล ด้านทรัพยากรที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมีความเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม ควรต้องพัฒนาศักยภาพของผู้สอนให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นผู้มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยระบบคุณภาพ และส่งเสริมให้มีคุณลักษณะพึงประสงค์สอดคล้องกับยุคศตวรรษที่ 21 ในทุกด้าน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีศักยภาพบรรลุวัตถุประสงค์สำคัญตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากลได้อย่างแท้จริง
References
กระทรวงศึกษาธิการ (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล ปรับปรุง พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กานต์มณี บุญศรัทธา. (2559). ความพร้อมของสถานศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2560). แนวโน้มการศึกษาไทยในครึ่งทศวรรษหน้า. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2565, จาก http://blog.eduzones.com
ชาญวิทย์ ชัยกันย์. (2561). แนวคิดการแบ่งปันผลประโยชน์ (Benefit Sharing) กับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายสหรัฐอเมริกา. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(2), 7-31.
วิทยากร เชียงกูร. (2559). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558: จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
วีรวรรณ มีมั่น (2558). ความสำเร็จของโรงเรียนมาตรฐานสากล (วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยใน ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพ เยาวชน.
Kilmer, V. (1999). The essence of total quality management. New York: Prentice hall.
Yenyuak, C. (2015). Emotional Quotient of Management Major Students, Faculty of Business Administration, Rangsit University. Journal of Business Administration the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 4(2), 89-98.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว