การบริหารการเปลี่ยนแปลงของนักบินไทย และองค์กร ในวิกฤตโรคระบาด
คำสำคัญ:
การบริการการเปลี่ยนแปลง, นักบินไทย, วิกฤตโรคระบาด, การปรับตัวบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรคของนักบินในประเทศไทยในวิกฤตโรคระบาดที่ได้รับผลกระทบในด้านการทำงาน การดำเนินชีวิต และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหาร
การเปลี่ยนแปลงของนักบินไทย และองค์กร ในวิกฤตโรคระบาด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน นักบินผู้ช่วยจากสายการบินที่ให้บริการในประเทศไทย 7 สายการบิน รวมทั้งสิ้น 14 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหากับข้อมูลจากการสัมภาษณ์นำเสนอโดยการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน และการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ เช่น ด้านรายได้จากค่าตอบแทนที่ลดลง ส่งผลให้เกิดความเครียด ด้านการฝึกอบรม จะสามารถรักษาประสบการณ์จากการฝึกจากเครื่องฝึกบินจำลองแทน และการใช้ระบบออนไลน์ในการเรียนทบทวน ด้านเป้าหมาย ในทุกองค์กรมีแผนการการรับมือกับวิกฤตโรคระบาดเพียงในระยะสั้น ด้านการรับมือกับโรคระบาดในผู้ที่ปฏิบัติการบินประสบปัญหาในการสวมหน้ากากอนามัยที่ส่งผลกระทบถึงเรื่องการสื่อสาร และ 2) แนวทางแนวทางบริหารการเปลี่ยนแปลงของนักบินไทย และองค์กร ในวิกฤตโรคระบาด ได้แก่ แนวทางที่ 1 ด้านการส่งเสริมด้านความรู้ ความสามารถให้กับบุคลากร แนวทางที่ 2 ด้านบริหารที่สนับสนุนให้พนักงานมีบทบาทต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร แนวทางที่ 3 ด้านการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมด้วย
References
กฤษฎา เสกตระกูล. (2563). 7 แนวโน้มวิถีปกติใหม่ ธุรกิจการบินหลังยุคโควิด-19. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565, จาก https://www.businesstoday.co/opinions/21/05/2020/38510
จงกลณี ตุ้ยเจริญ และคณะ. (2563). การรับมือกับไวรัสโคไรนา COVID-19 ในงานสาธารณสุขมูลฐาน. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 4(3), 1-20.
จุฑามาศ พงษ์สวัสดิ์. (2563). การปรับตัวในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา การเรียนการสอนภาษารัสเซียในโครงการรัสเซียศึกษา(ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธัญมาศ เล้าสกุล. (2561). การปรับตัวทางสังคมอย่างเหมาะสมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์ (รายวิชาการวิจัยรายบุคคล). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนกร ณรงค์วานิช. (2563). อุตสาหกรรมการบินจะผ่านไปอย่างไรกับโควิด-19. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2564). 8-Step Change Model [Kotter]. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565, จาก https://drpiyanan.com/tag/change-management/
รัชตะ จันทร์พาณิชย์. (2564). สถานการณ์โควิด-19: ผลกระทบและการปรับตัวของธุรกิจการบินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19). วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคม, 13(1), 1-19.
วัณยรัตน์ คุณาพันธ์, สมโภชน์ อเนกสุข และดลดาว ปูรณานนท์. (2562). การศึกษากระบวนการปรับตัวที่มีประสิทธิผลสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(1), 95-105.
สราวุฒิ ไทยสงค์ และศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2564). การบริหารงานบุคลากรโดยใช้เทคโนโลยีใน สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในองค์กร. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2559). Flight Crew Member Training Programmes -Airplane. ค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2565, จาก https://www.caat.or.th /th/archives/ 26135
อนุรดี ฤทัยธรรม และรสิตา สังข์บุญนาค. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท ซัมมิท แหลมฉบัง โอโต บอดี้ เวิร์ค จำกัด. วารสารรัชตภาคย์ มนุษยศาสตร์และสังคมสาสตร์, 14(32), 170-180.
อมร เอื้อกิจ. (2563). การบริหารสถาบันอุดมศึกษาภายใต้ภาวะวิกฤตเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19). Journal of Buddhist Philosophy Evolved,4(2), 120-130.
องค์การอนามัยโลก.(2563).Coronavirus. ค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2565, จาก https://www.who.int/thailand/ health-topics/ coronavirus
International Avaition Transportation Assosiaction (IATA) (2020). Guidance for Post-COVID Restart of Operations: CBTA Training Solutions Edition 2. Retrieved March 13, 2022, from https:// www.iata.org/ contentassets/c0f61fc821dc4f62bb6441d7abedb076/ guidance-for-post-covid-restart-of-operations-cbta-training-solutions.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว