ผลกระทบและโอกาสช่องทางส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวประเทศไทย: กรณีศึกษาภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • แพรวา ธนะพิรุฬห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชาญเดช เจริญวิริยะกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อัครมณี สมใจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ไวรัสโควิด-19, ธุรกิจท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

สถานการณ์การท่องเที่ยวของไทย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดินทางมาประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ลดลงจากปี 2562 ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวที่สำคัญ คือ ธุรกิจท่องเที่ยว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับผลกระทบที่มีต่อธุรกิจการท่องเที่ยวประเทศไทย และ 2. ระดับโอกาสช่องทางส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชากรที่อาศัย ในจังหวัดภาคตะวันออก ปี 2562 จังหวัดภาคตะวันออก 7 จังหวัด จำนวน 420 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซี่และมอร์แกน วิเคราะห์ด้วยค่าสถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ธุรกิจรถทัวร์โดยสารได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มากที่สุด  รองลงมาคือ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยวภายในและต่างประเทศ ธุรกิจอาหาร และการจ้างงาน ตามลำดับ และ 2) ด้านบทบาทของภาคเอกชนสร้างความเชื่อมั่นต่อนักท่องเที่ยวและผู้ใช้บริการ มีโอกาสส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวประเทศไทย รองลงมาคือ ด้านการสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่มีมาตรฐานและสุขอนามัย และอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้านการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมของแต่ละธุรกิจ และด้านการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเอกชน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรวางแผนเพื่อลดผลกระทบและช่วยเสริมสร้างโอกาสช่องทางส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

References

พรรษกฤช ศุทธิเวทิน และภูเกริก บัวสอน. (2562). กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นแซดในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(1), 99-110.

ภัทราพร อาวัชนาการ. (2558). ปัจจัยทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ในเขตอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

วิเทพ วาทะวุฒิ, รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์. (2561). บทบาทสายการบินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี,12(1), 315-331.

วุฒิพันธ์ สันติมิตร. (2557). การจัดการความเสี่ยงด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะช้าง จังหวัดตราด (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สยามรัฐออนไลน์. (2563). โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเป็นอันดับหนึ่งของโลก. ค้นเมื่อ 3 เมษายน 2565, จาก https://siamrath.co.th/n/146002

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970) Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

United Nations World Tourism Organization (UNWTO). (2017). อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 3 เมษายน 2565, จาก http://www.elfhs.ssru.ac.th/ chantouch_wa/pluginfile.php/438/block_html/content/A7.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31