รูปแบบการจัดการองค์กรแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ลลิลพร ยงวงศ์ไพบูลย์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการ, องค์กร, สังคมและสิ่งแวดล้อม, อุตสาหกรรมเหล็ก, ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) เพื่อพัฒนารูปแบบของการพัฒนาการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม โดยสอบถามกลุ่ม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าทางสถิติได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐานฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

ผลการวิจัย พบว่า 1) การประกอบธุรกิจของบริษัทจะต้องมีความเป็นธรรม มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีเคารพสิทธิมนุษยชน บริษัทมีรูปแบบหรือนวัตกรรมตลอดจนเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัทต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค มีนโยบายและดำเนินกิจกรรมการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การกำหนดกลยุทธ์ของการดำเนินงานต้องมีความสอดคล้องต่อธุรกิจและนโยบายบริษัท ต้องมีการศึกษาให้ถ่องแท้ว่าธุรกิจในแต่ละรายการสามารถมีส่วนใดที่สามารถช่วยเหลือกรอบการดำเนินงาน เพื่อสังคมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้บ้าง ต้องมีการสำรวจและรับฟังความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้บริหารและพนักงานในองค์กร ต้องเล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม 2) การพัฒนารูปแบบการพัฒนาการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างยั่งยืน ต้องให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม องค์ประกอบที่ 2 การกำกับดูแลกิจการที่ดี องค์ประกอบที่ 3 การเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม องค์ประกอบที่ 4 นวัตกรรมและการเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม องค์ประกอบที่ 5 ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค องค์ประกอบที่ 6 การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบที่ 7 การร่วมพัฒนาชุมชนหรือสังคม  องค์ประกอบที่ 8 การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

ชลลดา ศุภการวิศิษฎ์. (2556). การให้ความหมาย การมีส่วนร่วมและรูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในความต้องการของพนักงานบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปาริชาติ วงศา. (2559). การเปิดเผยการควบคุมภายในตามกรอบงานโคโซ่ 2013 ของกลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2553). การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร การสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2558). การตัดสินใจทางธุรกิจเชิงปริมาณ. เชียงใหม่: เชียงใหม่ล้านนา.

เรวัต ตันตยานนท์.(2558). ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม. ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2562, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/631298

สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย. (2560). โครงการติดตามผลกระทบและแนวทางการปรับตัวของอุตสาหกรรมเหล็ก. ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2562, จาก http://www.isit.or.th.

สำนักงานเศรษฐกิจอุสาหกรรม. (2557). รายงานประจำปี 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจ อุสาหกรรม.

อนันตชัย ยูรประถม และคณะ. (2557). ไขความหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2562, จาก https://www.set.or.th.

อนันต์ชัย ยูรประถม. (2556). แนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

Cheng, W. L. & Ahmad J. (2010). Incorporating Stakeholders Approach in Corporate Social Responsibility (CSR): A Case Study at Multinational Corporations (MNCs) in Penang. Social Responsibility journal, 6(4), 593-610.

Saha, J. & Saha, S.K. (2018). Sustainability and Corporate Social Responsibility in Green Steel Manufacturing-A Case Study.International Journal of Management and Social Sciences Research (IJMSSR), 7(1), 86-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31