การวิเคราะห์สถาปัตยกรรมองค์กร กองกลาง มหาวิทยาลัยพะเยา ด้วยสถาปัตยกรรมองค์กร โทกาฟโมเดล

ผู้แต่ง

  • อดิสร ผลศุภรักษ์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เกวรินทร์ จันทร์ดำ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สิทธิเดช วชิราศรีศิริกุล มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

สถาปัตยกรรมองค์กร, การให้บริการ , โทกาฟ โมเดล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สถาปัตยกรรมองค์กรกองกลาง มหาวิทยาลัยพะเยา 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บริการกองกลาง มหาวิทยาลัยพะเยา ด้านขั้นตอนการให้บริการและด้านสถานที่ให้บริการ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ กองกลาง มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างคือ เครือข่ายงานธุรการ จำนวน 39 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้บริการขององค์กร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) การวิเคราะห์สถาปัตยกรรมองค์กร ครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์โดยใช้วิธีการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรจาก โทกาฟ โมเดล ซึ่งได้กำหนดสถาปัตยกรรม อยู่ 4 ด้าน ได้แก่ 1.สถาปัตยกรรมด้านธุรกิจ 2.สถาปัตยกรรมด้านระบบงาน 3.สถาปัตยกรรมด้านข้อมูล 4.โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งสถาปัตยกรรมองค์กรสามารถสรุปโครงสร้างขององค์กรในรูปแบบพิมพ์เขียวซึ่งทำให้เห็นมุมมองภาพรวม 2) ผลการประเมินความพึงพอใจขององค์กร ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านระบบสารสนเทศมีความสะดวกรวดเร็ว อยู่ในระดับมาก ด้านขั้นตอนการให้บริการ อยู่ในระดับมาก และด้านสถานที่ให้บริการอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

References

ชวนิตย์ สุภาศักดิ์ และ วรภัทร โพรีเกรง. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำสถาปัตยกรรมองค์กรไปใช้สำหรับองค์กรภาครัฐ. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 43(2), 115-134.

วรพจน์ องค์วิมลการ และ สุขสวัสดี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์. (2562). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม กรณีศึกษา ธุรกิจฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 2(2), 1–6.

CIO Council. (2001). A Practical Guide to Federal Enterprise Architecture. Officer Council.

Costa, A. B., & Brito, M. A. (2022). Enterprise Architecture Management: Constant maintenance and updating of the Enterprise Architecture. In Proceedings of the 17th Iberian Conference on Information Systems and Technologies (CISTI) (pp. 1-5).

Harrison, R. (2013). TOGAF® 9 Foundation Study Guide. Van Haren Publishing.

Jnr, B. A. (2020). Smart city data architecture for energy prosumption in municipalities: concepts requirements and future directions. International Journal of Green Energy,17(1),1-16.

Likert, R. (2017). The method of constructing an attitude scale. In Scaling (pp. 233-242). Routledge.

Nguyen, T., & Truong, C. (2022). Integral SWOT-AHP-TOWS model for strategic agricultural development in the context of drought: A case study in Ninh Thuan, Vietnam. International Journal of the Analytic Hierarchy Process, 14, 1-14.

Qurratuaini, H. (2018). Designing Enterprise Architecture Based on TOGAF 9.1 Framework. IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, 403, Article ID: 012065. https://doi.org/10.1088/1757-899X/403/1/012065

The Open Group. (n.d.). The TOGAF Standard. Retrieved December 27, 2023, from https://pubs.opengroup.org/architecture/togaf9-doc/arch

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30