รูปแบบการจัดการทรัพย์สินทางเลือกโดยสร้างโทเคนเป็นตัวแทนของทรัพย์สิน เพื่อเตรียมพร้อมเกษียณ กรณีศึกษา: นักลงทุนตลาดหลักทรัพย์ไทย
คำสำคัญ:
โทเคน, ผู้สูงอายุ, ทรัพย์สินทางเลือก, สภาพคล่องบทคัดย่อ
เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะประสบปัญหาความมั่นคงทางรายได้ เนื่องจากการเก็บออมไม่พอใช้จ่ายยามเกษียณ วัตถุประสงค์การศึกษานี้จึงเกิดขึ้นเพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินทางเลือกจากเครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบัน 2) วิเคราะห์รูปแบบการสร้างโทเคนเพื่อเป็นตัวแทนทรัพย์สิน (Tokenization) ที่เหมาะสม และ 3) เสนอรูปแบบให้ผู้สูงอายุยอมรับ Tokenization มาใช้จัดการทรัพย์สิน วิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วยการวิจัยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารเพื่อหารูปแบบการจัดการทรัพย์สินผู้สูงอายุปัจจุบัน พัฒนาต้นแบบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้กรอบ Business Model Canvas กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5 กลุ่ม ประกอบด้วย สำนักงาน ก.ล.ต. ผู้ให้บริการระบบเสนอขาย
โทเคนดิจิทัล ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ระดมทุน และผู้สูงอายุที่เป็นนักลงทุน เพื่อหารูปแบบ Tokenization ที่เหมาะสม จากนั้นนำรูปแบบที่ได้มาวิจัยทดสอบการยอมรับนวัตกรรมกับ 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้แทนจากธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง นักลงทุนก่อนเกษียณ 6 ราย และนักลงทุนเกษียณแล้ว
5 ราย
ผลการวิจัย 1) สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุเป็นเครื่องมือทางการเงินเดียวที่มุ่งแก้ปัญหา
สภาพคล่องผู้สูงอายุ 2) การสร้างโทเคนเพื่อเป็นตัวแทนทรัพย์สินมีการนำมาใช้ในรูปแบบโทเคนเพื่อการลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ 3) รูปแบบที่ค้นพบเรียกว่า Social Value Tokenization Model
เมื่อนำไปทดสอบการยอมรับกับผู้สูงอายุและกลุ่มก่อนเกษียณ พบว่ามี 6 ปัจจัยที่จะทำให้เกิดการยอมรับ ได้แก่ 3.1) ICO Issuer มีความน่าเชื่อถือ 3.2) การบริหารกระแสเงินสดแบบคุ้มครองเงินต้น
3.3) การสนับสนุนจากภาครัฐในทุกมิติ 3.4) สถานดูลผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ 3.5) การคัดเลือกสินทรัพย์ที่มีคุณภาพเข้าโครงการ 3.6) ความร่วมมือจากพันธมิตรเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม
References
กรกฤษณ์ แร่ทอง. (2547). เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption/Decryption). สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2565, จาก https://www.nextproject.net/contents/?00044
ณฤทัย สุขเสนา. (2565). การปรับใช้กฎหมายไทยในการควบคุมบิทคอยน์. นิติศาสตร์, 51(2), 34.
นฎา วะสี และคณะ. (2564). ระบบจัดการรายได้ผู้สูงอายุ: ควรปรับเปลี่ยนอย่างไรให้เพียงพอและยั่งยืน. สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.pier.or.th/abridged/2021/14/
ปิยะศักดิ์ ดวงบัณฑิตกุล. (2558). Infrastructure Fund vs. Infrastructure Bond ความเหมือนที่แตกต่าง. สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565, จากhttps://www.thaibma.or.th/ EN/Investors/Individual/Blog/InfraBond.aspx
ภูมิ มูลศิลป์. (2564). การพัฒนานโยบายและกฎหมายว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(4),10.
มูลนิธิประเมินค่า-นายหน้าแห่งประเทศไทย. (2563). แนวโน้มตลาดอสังหาฯ โลก: ผลการประชุมสมาพันธ์อสังหาริมทรัพย์โลก. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2566, จากhttps://www.thaiappraisal.org/thai/ market/market_view.php?strquery=market03.htm
ศุทธิดา ชวนวัน และคณะ. (2563). ผู้สูงอายุอยู่โดดเดี่ยว (แต่) ไม่เดียวดาย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ. (2566). โอกาสของไทยกับการเป็นศูนย์กลางการค้าทองคำของโลก. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2566, จาก https://infocenter.git.or.th/article/article-20230920
สรฐัช สุงาม. (2563). การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2563, จากhttps://www.possible-wealth.com/?p=1106
สันติ ถิรพัฒน์. (2563). สินเชื่อ Reverse Mortgage เหมาะสำหรับผู้สูงอายุไทยหรือไม่. บริหารธุรกิจนิด้า, 26,22.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2561). รู้เขา รู้ระวัง รู้เท่าทันสินทรัพย์ดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566, จาก https://www.sec.or.th/TH/Documents/DigitalAsset/ DigitalAssetInvestment-Guide.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
Atom. (2011). DIGITAL FORENSICS: ค่าแฮช (HASH VALUE). Retrieved April 9, 2023, from https://dforensic.blogspot.com/2011/04/digital-forensics-hash-value-hash-value.html
Equisafe. (2019). Throwback: First Sale of Building Through Blockchain Technology In Europe Completed By Investment Platform Equisafe For € 6.5 Million. Retrieved November 27, 2023, from https://shorturl.at/qxKX1
Lucas, D. (2016). Hacking Reverse Mortgage. Cambridge (MA): MIT Center for Finance and Policy.
OECD. (2020). The Tokenisation of Assets and Potential Implications for Financial Markets (OECD Blockchain Policy Series. Retrieved November 27, 2023, from www.oecd.org/ finance/The-Tokenisation-of-Assets-and-PotentialImplications-for-Financial Markets.htm
Ping, A. K. (2548). Credit Enhancement and Securitizations – Types, Mechanism, Structures, Applications (including MBS). Retrieved November 27, 2023, from https://www.fpo. go.th/ main/News/Special-report/769.aspx
Reader, I. (2563). ตราสารอนุพันธ์ (Derivative) คืออะไร? I เงินล้านไม่ยาก หากรู้จักสินทรัพย์ทางการเงิน (ตอนที่ 4). สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2566, จาก https://www.finnomena.com/investment-reader/financial-assets-4-derivative/
Sudtirak Jakrawanachachat, Ploypailin Kijkasiwat & Surachai Chancharat. (2021). An Approximation Approach for Valuing Reverse Mortgages in Thailand. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 9(1), 10-16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว