อิทธิพลของโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทและการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เบญจพร โมกขะเวส คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท, การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคม, มูลค่ากิจการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทและการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมูลค่ากิจการวัดค่าโดยใช้อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรต่อหุ้น อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไร และมูลค่าของกิจการ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 311 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี 2562-2564 โดยใช้สูตรเครจซี่และมอณ์แกน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05 

ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงไม่มีการควบรวมตำแหน่งมีอิทธิพลทางบวกต่อมูลค่ากิจการซึ่งวัดค่าจากอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรต่อหุ้น อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไร และมูลค่าของกิจการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 และความเป็นอิสระของประธานกรรมการมีอิทธิพลทางบวกต่อมูลค่ากิจการซึ่งวัดค่าจากอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและกำไรต่อหุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับการเปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคม ประกอบด้วย ด้านชุมชนและสังคมมีอิทธิพลทางบวกต่อมูลค่ากิจการซึ่งวัดค่าจากอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรต่อหุ้น อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรและมูลค่าของกิจการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 และด้านผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลทางบวกต่อมูลค่ากิจการซึ่งวัดค่าจากอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและกำไรต่อหุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2555). ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ. ค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2564, จาก https://www.sec.or.th/cgthailand/th/pages/overview/cgandsustaina blebusinessdevelopment.aspx#2

จินตนา ไกรทอง. (2561). ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณิชฎา กีรติอุไร. (2559). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรและผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: ศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.

ดารารัตน์ โพธิ์ประจักษ์ และอุภาวดี เนื่องวรรณ (2562). อิทธิพลของการเปิดเผยข้อมูลการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(2), 37-50.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จาก https://www.sec.or.th/cgthailand/-TH/Documents/ Regulation/CGCode.pdf

บูรณภพ สมเศรษฐ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กรและขนาดขององค์กรกับผลการดําเนินงานทางการเงิน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนฑกาล พงษ์เกษม. (2562). ปัจจัยการกำกับดูแลกิจการของบริษัทที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6, หน้า 234-244.

ศิริพร มาลัยเปีย . (2561). ความสัมพันธ์ของการเปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อมูลค่าบริษัทอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(2), 75-86.

สุพาดา สิริกุตตา และคณะ. (2552). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สุกัญญา รักพานิชมณี, สัจจา ดวงชัยอยู่สุข และวศินี ธรรมศิริ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย. รายงานสืบเนื่อง (Proceedings) การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, วันที่ 8 มิถุนายน 2561, หน้า 602-615.

Ammari, A., Kadria, M., & Ellouze, A. (2014). Board structure and firm performance: Evidence from French firms listed in SBF 120. International Journal of Economics and Financial Issues, 4(3), 580-590.

Azeez, A.A. (2015). Corporate Governance and Firm Performance: Evidence from Sri Lanka. Journal of Finance and Bank Management, 3(1), 180-189.

Carroll A., B. (1979). A Three-Dimensional Conceptual Model of Corporate Performance. The Academy of Management Review, 4(4). 497-505.

Freeman et al. (2010). Stakeholder theory: The state of the art. Cambridge: Cambridge University Press.

Fu, G. & Jia, M. (2012). On the reasons for the vexing CSP-CFP relationship: Methodology, control variables, stakeholder groups, and measures: The review of 63 studies from 1990s. International Journal of Business and Management, 7(12), 130-137.

Haider, N., Khan, N. & Iqbal, N. (2015). Impact of corporate governance on firm financial performance in Islamic financial institution. International Letters of Social and Humanistic Sciences, 51, 106-110.

Hussin, N. & Othman, D. R. (2012). Code corporate governance and firm performance. Journal of Economics, Finance and Management Sciences, 6(2), 1-22.

Jensen, M. C., & Meckling, W. (1976). Theory of the firm: Managerial behavior, Agency costs and ownership structure. Journal of Financial Economics, 3, 305-360.

Johnson. (1971). Reflections on Current Trends in Economics. Australian Economic Papers, 10(16). 1-11.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

McColgan, P. (2001). Agency theory and corporate governance: A review of the literature from a UK perspective. Working paper. University of Strathclyde, UK.

Prahalad, C. K., & Hamel, G. (1994). Strategy as a field of study: Why search for a new Paradigm. Strategic Management Journal, 15(2), 5- 16.

Ranti, U. O., & Samuel, F. A. (2012). The Effects of board size on financial Performance of banks: A study of listed banks in Nigeria. International Journal of Economics and Finance, 4(2), 260-267.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30