ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันการศึกษา: กรณีการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, สถาบันการศึกษา, ระดับบัณฑิตศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการตัดสินใจของนักศึกษาในการเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในปัจจัยด้ายต่างๆ (2) เปรียบเทียบการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามจำนวน 400 ราย วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา การวิเคราะห์ค่าที่ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) โดยภาพรวม ด้านความคิดเห็นของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัย ด้านบรรยากาศการเรียน และด้านปัจจัยในการเลือกสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก และ 2) นักศึกษาที่มี เพศ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันการศึกษา โดยภาพรวม ด้านความคิดเห็นของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัย ด้านบรรยากาศการเรียน และด้านปัจจัยในการเลือกสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน นักศึกษาที่มีอายุต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันการศึกษา ด้านภาพรวม และด้านปัจจัยในการเลือกสถานศึกษา แตกต่างกัน นักศึกษาที่มีสถานภาพต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันการศึกษา ด้านภาพรวม และด้านปัจจัยในการเลือกสถานศึกษา แตกต่างกัน โดยนักศึกษาที่มีสถานภาพสมรถมีการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันการศึกษา ด้านปัจจัยในการเลือกสถานศึกษาสูงกว่าสถานภาพหย่า และนักศึกษาที่มีอาชีพต่างกัน
มีการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันการศึกษา ด้านภาพรวม และด้านปัจจัยในการเลือกสถานศึกษา แตกต่างกัน โดย (1) นักศึกษาที่ประกอบอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และข้าราชการมีการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันการศึกษา ด้านภาพรวมสูงกว่าอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และพนักงานรัฐวิสาหกิจ (2) นักศึกษา
ที่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันการศึกษาด้านภาพรวมสูงกว่าอาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ และธุรกิจส่วนตัว
References
ไกรสิงห์ สุดสงวน. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal.มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 201-207.
ใจชนก ภาคอัต (2556). ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพของสถาบันที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ฉัตราพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัชชา สุวรรวงศ์ .2560. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสนใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปีการศึกษา 2560. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
นราธิจ ศรีณย์ภัทรธร (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
ปฐมา อาแว และคณะ (2562). การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีปีการศึกษา 2562 (รายงานวิจัย). กองแผนงานวิทยาเขตปัตตานี สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.
พรรณพนัช จันหา และคณะ (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
ลัชชา ชุณห์วิจิตรา และณัฐวรรณ ครุฑสวัสดิ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาในหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรนานาชาติ) คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 3 (1), 111-123.
วิไลพรรณ ตาริชกุล และคณะ (2559). การตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตขอนักศึกษาโครงการพิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 2 (1), 1-12.
สมศรี เพชรโชติ (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทาลัยรามคำแหง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3),168-184.
เสรี สิงห์โงน และสาลินี จันทร์เจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑติสาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่นและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 5(2), 95-108.
Lim, J. S. and Oppenheim, A. V. (1979). Enhancement and Bandwidth Compression of Noisy Speech. Proceedings of IEEE, 67(12), 1586-1604.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว