ถอดรหัสแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการการศึกษาระดับปฐมวัย ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สรินนา โชติพนัส สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ, การบริหารจัดการการศึกษาระดับปฐมวัย, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) รหัสแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการการศึกษาระดับปฐมวัยในประเทศไทย 2) ผลการยืนยันรหัสแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการการศึกษาระดับปฐมวัยในประเทศไทย ประชากรของการวิจัย คือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ที่เปิดสอนก่อนระดับประถมศึกษา จานวน 26,542 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เปิดสอนก่อนระดับประถมศึกษา จานวน 100 โรงเรียน กาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณการขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน คือ ผู้อานวยการโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบระดับปฐมวัย รวม 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามเพื่อยืนยันผลการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) รหัสแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการการศึกษาระดับปฐมวัยในประเทศไทย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ (1) การจัดการสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ (2) การบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา (3) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการเสริมสร้างประสิทธิภาพของสถานศึกษา (4) การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ (5) การสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และ (6) การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา 2) ผลการยืนยันรหัสแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการการศึกษาระดับปฐมวัยในประเทศไทยพบว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จากัด.

กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์. (2563). เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อ การจัดทาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice). ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564 จาก https://www.sw2.ac.th/images/user/sunpaboon/ 62/vck4/bestprac.pdf

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). กระบวนการติดต่อสื่อสาร (Communication Process). ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564 จาก https://iok2u.com/article/business-administrator/communication-process#:~:text=กระบวนการติดต่อสื่อสาร

ชัชวาลย์ ลิ้มรัชตะกุล. (2560). การศึกษาปฐมวัย. มหาสารคาม: คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทรนง พิลาลัย. (ม.ป.ป.). การค้นหาและถอดรหัสแนวทางการปฏิบัติที่ดี. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564 จากhttp://www.med.nu.ac.th/fom/th/nuhoffice/file_document/555_นพ.ทรนง%20พิราลัย%20-%20การค้นหา%20Good%20or% 20Best%20Practice%20และการถอดความรู้.pdf

ธเนศ ขาเกิด. (2555). Best Practices คืออะไร. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/113893

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.

วงเพชร การุณย์. (2564). รูปแบบการบริหารการศึกษาปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจาจังหวัด. สันติศึกษาปริทรรศน์มจร, 9(5), 1940 -1951.

วิจารณ์ พานิช. (2553). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วจิรา เดชารัตน์. (2551). 50 ปี กรมการพัฒนาชุมชน: อุทิศตน พัฒนาคน สร้างชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

ศิริพร ศรีอินทร์สุทธิ์. (2558). แนวปฏิบัติติที่เป็นเลิศในการบริหารศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เอกสารประกอบการรายงานผลการดาเนินงานโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยในระดับพื้นที่ภาคและจังหวัด. กรุงเทพฯ: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิกส์.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2562). กระบวนการวิจัยและพัฒนา Best Practices/Good Practices. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564, จาก http://ftpi.or.th

สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2560). แนวทางการนาเสนอแนวปฏิบัติที่ดี. ลาปาง: บอยการพิมพ์.

อภิญญา ตันทวีวงศ์. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (2006). Research in Education. (10thed.). Massachusetts: Pearson Education Inc.

eCampusOntario. (2561). Communication for Business Professionals. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564, จาก https://openlibrary-repo.ecampusontario.ca/xmlui/bitstream/handle/123456789/ 525/Communication-for-Business-Professionals-1564507596.-htmlbook.html? sequence=18&isAllowed=y

Kaiser quoted in Barbara G. Tabachink, and Linda S.Fidell. (1983). Using Multivariate Statistics. New York Haper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30