ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โรงแรมขนาดเล็ก ในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวยุโรป

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ เหมาะประมาณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาด, การตัดสินใจ, โรงแรมขนาดเล็ก, นักท่องเที่ยวยุโรป

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการที่พักประเภทโรงแรมขนาดเล็ก
ในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวยุโรป 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7Ps) ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวยุโรป และ 3) เพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกใช้โรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวยุโรป จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล เป็นการวิจัยแบบผสม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักท่องเที่ยวชาวยุโรป โดยใช้สูตรสูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการทดสอบ (LSD) และการถดถอยเชิงพหุคูณ 2) ผู้ประกอบการหรือผู้จัดการโรงแรม ทั้งหมดจำนวน 7 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนใหญ่เคยใช้บริการที่พักประเภทโรงแรมขนาดเล็ก (ระหว่าง 1-10 ครั้งขึ้นไป) มีค่าใช้จ่ายมากกว่าครั้งที่แล้ว มีการสำรองห้องพักล่วงหน้าส่วนใหญ่ 1-3 สัปดาห์ มีเหตุผลในการเลือกใช้บริการด้านราคาถูกกว่า มีลักษณะการสำรองที่พักด้วยการจัดเตรียมการเดินทางด้วยตัวเอง มีวัตถุประสงค์การใช้บริการที่พักเพื่อการท่องเที่ยว/พักผ่อน 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7Ps) อยู่ในระดับมากทุกด้าน
ด้านผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการจัดจำหน่าย และลักษณะทางกายภาพ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวยุโรป 3) เพศ อายุ อาชีพ มีการตัดสินใจใช้บริการที่พักประเภทโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดภูเก็ตที่แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7Ps) ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการจัดจำหน่าย และลักษณะทางกายภาพมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวยุโรป

References

กรมการท่องเที่ยว. (2559). สถิตินักท่องเที่ยวชาวไทย-ต่างชาติ ประจำปี 2015-2016. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2566, จาก https://www.mots.go.th/news/category/521

กฤษดา หยกอุบล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรสำหรบการเตรียมดินของเกษตรกรในเขตอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเนชั่น.

กุลชลี ไชยนันตา. (2539). กระบวนการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์.

เกศินี โพธิ์เพชร, สุพิศ ฤทธิ์แก้ว และสมนึก เอื้อจิระพงษ์. (2563). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในแหล่งท่องเที่ยวขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 37(2), 110-136.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). ความคาดหวังต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยภายใต้แคมเปญ “Amazing New Chapters” กรณีนักท่องเที่ยวเยอรมัน สหราชอาณาจักร อินเดีย (GEI) ยุควิถีปกติใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 4(2), 75-91.

ณัฐวุฒิ เหมาะประมาณ และเกิดศิริ เจริญวิศาล. (2565). การประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับ อุตสาหกรรมโรงแรมยุคดิจิทัล. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 251-266.

ธนาภรณ์ ตราชู และฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของธุรกิจนำเที่ยวไทย เพื่อตอบสนองอุปสงค์การท่องเที่ยวในยุคดิจิทัล. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 14(1), 14-23.

บุญนิดา แก้วกิริยา และรุ่งอาทิตย์ บูชาอินทร์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 16(1), 3-11.

บุณยะวรรธน์ ปุณยะสิทธิ์สกุล และศุภศักดิ์ เงาประเสริฐวงศ์. (2563). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการตัดสินใจเลือกใช้ บริการโฮสเทล ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(2), 1-13.

ปณิศา มีจินดา และศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2554). กลยุทธ์การตลาดและการวางแผน. กรุงเทพ: ธรรมสาร.

มนตรี เกิดมีมูล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าพักที่โฮมสเตย์ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ:กรณีศึกษา โฮมสเตย์ในเขตพื้นที่ภาคใต้. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 110-120.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเทกซ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

ศุทธิกานต์ คงคล้าย และธัญเทพ ยะติวัฒน์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 11(ฉบับพิเศษ). 19-32.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). บทวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ ปี 2566 ธุรกิจโรงแรมและที่พักทยอยฟื้นตัว แต่ภายใต้มุมมองที่ระมัดระวังมากขึ้น. ค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2566, จาก https://www.kasikorn research.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Hotel-z3351.aspx

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). ร่างชุดข้อมูล ด้านเศรษฐกิจ : การท่องเที่ยว 2565. ค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2566, จาก http://phuket.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id= 373&Itemid=646

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน. (2565). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 2566-2570. OSM Andaman: กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน, สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน, จังหวัดภูเก็ต.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. (2565). แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต 5 ปี (พ.ศ.2566 -2570): กองแผนและงบประมาณองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2566, จาก https://phuketpao.go.th/strategy/?cid=147

Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Dieguez, T., Ly, N. T., Ferreira, L. P., & da Silva, F. J. G. (2022). Digital customer network strategy influences on Hotel Business. In Innovations in Industrial Engineering (pp. 420-431). Springer International Publishing.

Gibson, jame. L, Ivancevich. J. M. and Donnelly, J.H. (1979). Organizational: Behavior, Structure, Process. 3rd ed. Dallas; Texas: Business Publications, Inc.

Jones, G.R. (1984). Socialization tactics, self-efficacy, and newcomers’ adjustments to organizations. Academy of Management Journal, 28, 467-474.

Kotler, P. (2003). Marketing Management. 11th Edition, Prentice-Hall, Upper Saddle River.

Kotler, P. and Keller, K.L. (2012). Marketing Management. 14th Edition. Pearson Education.

Kotler, P. and Keller, K.L. (2009.) Marketing Management. Global Edition: Pearson Education Inc., Upper Saddle River.

Leiper, N. (1979). The framework of tourism: Towards a definition of tourism, tourist, and the tourist industry. Annals of Tourism Research, 6(4), 390-470.

Plunkett, W. R., & Attner, R. F. (1994). Introduction to Management. Belmont: Wadsworth.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30