อิทธิพลของคุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูล ที่มีผลต่อความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงานของธนาคารในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นริศรา กิติพัตย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

คุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูล, ความสามารถทางนวัตกรรม, ผลการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูล ความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงานของธนาคารในประเทศไทย และ 2) อิทธิพลของคุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีผลต่อความสามารถทางนวัตกรรมและผลการดำเนินงานของธนาคารในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย
เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานของธนาคารในประเทศไทยที่มีการใช้ข้อมูลในการพัฒนาสินค้าและบริการ หรืออยู่ในฝ่ายงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรี และธนาคารกรุงเทพ จำนวน 200 คน โดยการคัดเลือกแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ ตัวแบบสมการโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูล ความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงานภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) คุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูลมีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงานของธนาคาร ความสามารถทางนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานของธนาคาร นอกจากนี้คุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูลยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงาน โดยมีความสามารถทางนวัตกรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า คุณภาพข้อมูล คุณภาพคนเก่ง และคุณภาพเทคโนโลยี มีอิทธิพลทางตรงที่ส่งผลต่อความสามารถทางนวัตกรรมและผลการดำเนิน งานของธนาคาร
ซึ่งคุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือจะส่งผลต่อการตัดสินใจในธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างนวัตกรรมสินค้าและบริการ รวมถึง นวัตกรรมกระบวนการได้ต่อเนื่อง เพื่อยกระดับความได้เปรียบในการแข่งขัน และส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นได้

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สามลดา.

ชาญชัย ชัยประสิทธิ์. (2564). เจาะพฤติกรรมผู้บริโภคไทยที่เปลี่ยนไปในยุคโควิด-19. ค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566, จาก https://www.pwc.com/th/en/pwc-thailand-blogs/blog-20210518.html

ธนชาติ นุ่มนนท์. (2561). The Power of Big Data for a new economy. หลอมรวมข้อมูลสู่การวิเคราะห์-พยากรณ์-สะท้อนอนาคต. นนทบุรี: บริษัท ไอเอ็มซี เอ้าซอร์สซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด.

วชิรพรรณ ทองวิจิตร. (2559). Internet of Things (IoT): เมื่อทุกสิ่งอิงกับอินเทอร์เน็ต. ค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566, จาก https://www.ipst.ac.th/knowledge/knowledge-article/article-cs/13940/ internet-of-things-iot.html

Akter et al. (2016). Transformational leadership and innovation: An empirical study of direct and indirect effects in HR consulting companies. International Journal of Business and Management, 13(1), 131-142.

Barton, D. & Court, D. (2012). Making advanced analytics work for you. Harvard Business Review, 90(10), 79-83.

Kiron, D., Prentice, P. K. & Ferguson, R. B. (2014). Raising the bar with analytics. MIT Sloan Management Review,55(2), 1-21.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A. (2000). The adoption of technological, administrative, and ancillary innovations: Impact of organizational factors. Journal of Management, 13(4), 675-688.

Davenport, T. H. & Patil, D. (2012). Data scientist: the sexiest job of the 21st century. Harvard Business Review, 90(10), 70-77.

Petter, S., DeLone, W. & McLean, E. (2008). Measuring information systems success: models, dimensions, measures, and interrelationships. European Journal of Information Systems, 17(3), 236-263.

Ram, J., Zhang, C. & Koroniosc, A. (2016). The implications of Big Data analytics on Business Intelligence: A qualitative study in China. Procedia Computer Science, 87, 221 – 226.

Wanichbuncha, K. (2018). Statistics for research. (12th ed.). Bangkok: Sam Lada Ltd., Part.

Yasmin et al. (2020) Quality dominant logic in big data analytics and firm performance. Business Process Management Journal, 25(3), 512-532.

Zhang, H. & Yuan, S. (2023). How and When Does Big Data Analytics Capability Boost Innovation Performance? Sustainability, 15(5), 1-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30