การสอนภาษาอังกฤษผ่านเทคนิคการใช้นิทานและวรรณกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
การสอนภาษาอังกฤษ, นิทาน, วรรณกรรม, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสอนภาษาอังกฤษผ่านเทคนิคการใช้นิทานและวรรณกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการศึกษาเชิงเอกสารจากเอกสารต่าง ๆ เช่น ตำราวิชาการ หนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความ และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนิทานและวรรณกรรมที่มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยแต่ละช่วงวัย และเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กระดับปฐมวัย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่านิทานและวรรณกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ถือเป็นงานเขียนอย่างหนึ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อเด็กช่วงวัยนี้ เพราะช่วยให้เด็กได้รับความรู้ควบคู่กับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เกิดจินตนาการและมีความคิดสร้างสรรค์ เมื่อนำนิทานและวรรณกรรมที่มีเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษมาใช้ในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ด้วยเนื้อหานิทานและวรรณกรรมที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยแต่ละช่วงวัย พร้อมทั้งการนำเสนอและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การเพิ่มรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้แนวคิดในการเล่านิทานและวรรณกรรมภาษาอังกฤษ เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางภาษาอังกฤษ
References
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). กระบวนการติดต่อสื่อสาร (Communication Process). ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564, จาก https://iok2u.com/article/business-administrator/communication-process#:~:text=กระบวนการติดต่อสื่อสาร
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์. (2563). เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อ การจัดทำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice). ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564, จาก https://www.sw2.ac.th/images/user/sunpaboon/ 62/vck4/bestprac.pdf
จันทรา ภู่เงิน. (2549). การศึกษาวรรณกรรมสำหรับเด็กของ ปรีดา ปัญญาจันทร (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดวงเดือน แจ้งสว่าง. (2542). นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย. สงขลา: สถาบันราชภัฏสงขลา.
ธิดา พิทักษ์สินสุข. (2562). วิกฤตปฐมวัยกระทบอนาคตชาติ. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 1(1), 77-89.
เนตรชนก รักกาญจนันท์. (2558). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นฤมล เนียมหอม. (ม.ป.ป). การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานเรื่องปลาสายรุ้ง. ค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2565, จาก http://www.nareumon.com/index.php?option=com_content &task=view&id=%2020&Itemid=51
บังอร ศรีกาล. (2553). ผลการพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปรีดา ปัญญาจันทร์. (2553 ).เล่าร้อง เต้น เล่นละคร. กรุงเทพฯ: สาราเด็ก.
พลอยสีเทา เล่านิทาน. (2560). คุณค่าของนิทาน. ค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2565, จาก https://obmko.com/fable-148.html
ภัทรขวัญ ลาสงยาง. (2561). คิด เขียน สร้าง นิทานและหนังสือสำหรับเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2554). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอพีกราฟฟิคส์ดีไซน์.
วินทร์ เลียววาริณ.(2560). ความหมายวรรณกรรม.ค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2565,จาก https://www.face book.com/winlyovarin/posts/
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ศุภดา พึ่งหิรัญ. (2560). ครูออมกับเทคนิคการสอนเด็กด้วยนิทาน 2 ภาษา. ค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2565, จากhttp://edtechbooks.igetweb.com/articles/42228605/ครูออมกับเทคนิคการสอนเด็กด้วยนิทาน-2-ภาษา.html
สุกันยา อินทร์นุรักษ์. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการเคลื่อนไหวที่มีต่อความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย สถานเลี้ยงเด็กมายด์โฮมเดย์แคร์เนอสเซอรี่ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สุธากร วสุโภคิน, รวี ศิริปริชยากร สุดารัตน์, พงษ์พันธ์ และธนพรรณ เพชรเศษ. (2563). เอกสารประกอบการเรียน 1072318: นิทานและวรรณกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
อรปวีณ์ กุลพรเพ็ญ และนฤมล สุนทรทิพย์. (2561). ความสำคัญของภาษาอังกฤษและการเรียนรู้ความหลาก หลายทางวัฒนธรรมสำหรับชาวไทยเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นลูกเรือในสายการบินต่างชาติ. ในการประชุมวิชาการด้านการบินระดับชาติครั้งที่ 1 (น. 46). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
Blink Bloo Kid Books shop. (2559). หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน2565, จาก https://www.facebook.com/blinkblookidbooks/posts/965205356927803/
Hillman, J. (1995). Discovering Children’s Literature. New Jersey: Prentice
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว