โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทาง TikTok ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วรรณนัฎฐา ขนิษฐบุตร คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, การตลาดสื่อสังคมออนไลน์, TikTok

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นโครงสร้างกลุยทธ์การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจ และการตัดสินใจใช้บริการผู้บริโภค TikTok เขตกรุงเทพมหานคร 2) ความสัมพันธ์
เชิงเหตุผลระหว่างโครงสร้างกลุยทธ์การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ความไว้วางใจ และการตัดสินใจใช้บริการผู้บริโภค TikTok เขตกรุงเทพมหานคร และ 3) ปัจจัยกลุยทธ์การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจ และการตัดสินใจใช้บริการผู้บริโภค TikTok เขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มผู้ซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม TikTok จำนวน 330 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างโดยโปรแกรม AMOS

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริโภคให้ความสำคัญกลยุทธ์การตลาดสื่อออนไลน์เรื่องความบันเทิงมากที่สุด รองลงมาเป็นกระแสนิยม และการสนองความต้องการ 2) กลยุทธ์ตลาดสื่อออนไลน์มีอิทธิพลต่อควาเชื่อใจ และ กลยุทธ์ตลาดสื่อออนไลน์มีความสัมพันธ์ต่อความเชื่อใจและการตัดสินใจที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และมีความสัมพันธ์ในทางบวก และ 3) กลยุทธ์ตลาดสื่อออนไลน์มีอิทธิพลต่อความเชื่อใจและการตัดสินใจที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยผลการศึกษานำไปสนับสนุนผู้ให้บริการขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ให้เน้นการทำสื่อสังคมออนไลน์ให้เหมาะสมโดยเน้นความบันเทิงเพื่อสร้างความไว้ใจและทำให้เกิดการตัดสินใจมากขึ้น

References

เกียรติศักดิ์ สุขศรีชวลิต. (2563). ปัจจัยการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพล ต่อความตั้งใจเลือกชำระเงินผ่านทางแอปพลิเคชัน “True Money Wallet” ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. Dusit Thani College Journal, 4(1), 404-418.

ชุลีกร เกษทอง. (2553). การรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตดัสินใจซื้อสินค้า หรือบริการในสังคมเครือข่ายออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมาบัณฑิต). วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐิติภา สัมพันธ์พร. (2556). สร้างแบรนด์ให้ติดตลาดด้วยเฟสบุ๊ค: กรุงเทพฯ: ดรีม แอนด์ พับบลิชชิ่ง.

ดวงฤดี อุทัยหอม และ สิทธิเสกข์ พิมพ์ธนะพูนพร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นกับความภักดีต่อการใช้บริการตัวแทนจาหน่ายรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลวอลโว่ของลูกค้าในเขตจังหวัดภาคใต้, วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ (ครั้งที่ 6), 1031.

ธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ. (2563). อิทธิพลด้านความบันเทิง ความไว้วางใจ และความเพลิดเพลิน กับการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้าในธุรกิจโรงแรม. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 2(1), 66-78.

พิศมัย หาญมงคลพิพัฒน. (2558). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของ นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน. วารสารมหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 23(4), 503-516.

ระวิ แก้วสุกใส และชัยรัตน์ จุสปาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณีเฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์,(5), 197-215.

นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2561-2580. (11 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 47 ก.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). สถิติจำนวนประชากรปี 2563. ค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2566, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData

อรรถศิษฐ์ พัฒนะศิริ และ วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ. (2559) สื่อสังคม และอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (The Journal of Social Communication Innovation), 4(2), 151-160.

อมลวรรณ กรณ์ปรีชาวงศ์ ฑัตษภร ศรีสุข และอนันตพร วงศ์คำ. (2566). อิทธิพลของปัจจัยองค์ประกอบผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์สื่อสารการตลาดผ่านเฟซบุ๊ก ที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการชำระสินค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดลําปาง. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 7(1), 47-61.

Data Reportal. (2019). Digital 2019: Global Digital Overview. Retrieved May 10, 2022, from https://datareportal.com/reports/digital-2019-global-digital-overview

Das, G. (2014). Linkages of retailer personality, perceived quality and purchase intention with retailer loyalty: A study of Indian non-food retailing. Journal of Retailing and Consumer Services, 21(3), 407-414.

Engel, J. F., Blackwell, R. D., & Miniard, P. W. (1994). Consumer behavior (8th ed.). New York: Dryden.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis.(7th ed.). Pearson.

Kim, D. J., Ferrin, D. L., & Rao, H. R. (2008). A trust-based consumer decision-making model in electronic commerce: The role of trust, perceived risk, and their antecedents. Decision support systems, 44(2), 544-564.

Moslehpour, M., Aulia, C. K., & Masarie, C. E. L. (2015). Bakery product perception and purchase intention of Indonesian consumers in Taiwan. International Journal of Business & Information, 10(1), 63-94.

Oliver, R. L. (1999). Whence Consumer Loyalty? Journal of Marketing, 63, 33-44.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling (3rd ed.). Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31