ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ต่อการขนส่งสินค้าทางทะเล

ผู้แต่ง

  • ธราญา ลุ่ยพรสุขสว่าง หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชาญเดช เจริญวิริยะกุล หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สโรชินี ศิริวัฒนา
  • สุดา สุวรรณาภิรมย์

คำสำคัญ:

ผลกระทบ, การขนส่งสินค้าทางทะเล, ไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019
ต่อการขนส่งสินค้าทางทะเล และ 2) แนวทางในการลดผลกระทบด้านการขนส่งสินค้าทางทะเลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ตัวแทนบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเรือหรือผู้ให้บริการสายการเดินเรือ, บริษัทนำเข้า-ส่งออกที่ได้รับผลกระทบ และสมาคมขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก รวมทั้งหมด จำนวน 17 คน คัดเลือกด้วยวิธีการแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือการวิจัยจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลกระทบมีดังนี้ (1) การขาดแคลนแรงงาน จากมาตรการการป้องกัน
การระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะการล็อคดาวน์ (2) การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ เนื่องจากการ
ขาดแรงงานทำให้ตู้คอนเทนเนอร์ตกค้างในท่าเรือ (3) อัตราค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ (4) ต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มขึ้น และ 2) แนวทางในการลดผลกระทบดังกล่าวควรมีการดำเนินการ ดังนี้ (1) ภาครัฐควรให้การช่วยเหลือ SMEs ด้านเงินทุน และการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการขนส่ง (2) ควรมีเวทีระดับนานาชาติเพื่อให้มีการพิจารณาแก้ไขปัญหาร่วมกันเมื่อเกิดวิกฤต เช่นการระบาดของโควิด-19 (3) ควรนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในเพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการท่าเรือ (4) ควรเพิ่มศักยภาพท่าเรือให้สามารถรองรับปริมาณสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดการติดขัดและความแออัดของท่าเรือ (5) ควรมีมาตรการและกลไกช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมและมีผลผูกพันทางกฎหมาย

References

กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์. (2563). การขับเคลื่อนระบบโลจิสติกส์บนความปกติใหม่ (New Normal) ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. จดหมายข่าวกอง ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์, 3(2), 4-7.

กฤตภาส อิสราพานิช. (2554). คุณรู้จักระบบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเล...ไหม ?. ค้นเมื่อ 11 กันยายน 2564, จาก https://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS /QM166_p025-30.pdf

ทีเอ็นเอ็น ออนไลน์. (2564). กำเนิดใหม่ “สายการเดินเรือแห่งชาติ” เสริมแกร่ง ส่งออกไทย. ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2564, จาก https://www.tnnthailand.com/news/wealth/89226/

ณัฏฐ์พงษ์ จันทชโลบล. (2561). การจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo Management). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

นิตยา ชูมี. (2552). การจัดทำดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางทะเลเพื่อการนำไปประกอบการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของภาครัฐและเอกชน (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วันเพ็ญ ไกรเกียรติสกุล. (2549). การวิเคราะห์ปัจจัยค่าระวางการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ :กรณีศึกษาเส้นทางไทย-เซียงไฮ้ และเส้นทางไทย-สิงคโปร์. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัฒนพงษ์ ใจวัฒน์. (2564). ค่าขนส่งทางเรือหลายเส้นทางทำสถิติสูงสุดใหม่ แถมตู้คอนเทนเนอร์เปล่าขาดแคลนทั่วโลก กระทบผู้ส่งออก. ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2564, จาก https://brandinside.asia/ shipping-cost-surge-around-the-world-from-consumer-and-production-demand-14-jan-2021/

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI). (2564). ปัญหาค่าขนส่งทางเรือสูงในช่วงโควิด-19. ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2564, จาก https://tdri.or.th/2021/04/covid-111/

สถาพร โอภาสานนท์. (2563). การจัดการโลจิสติกส์ในช่วงวิกฤตโรคระบาด (Logistics management in pandemic crisis). ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, จาก https://www.tbs.tu.ac.th/wp-content/ uploads/2020/04/การจัดการโลจิสติกส์ในช่วงวิกฤตโรคระบาด.pdf

สานิตย์ หนูนิล. (2564). ผลกระทบ การปรับตัว และความต้องการการช่วยเหลือขององค์กรภาคอุตสาหกรรมในช่วงวิกฤต COVID-19. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(1), 25-40.

สำนักเจรจาการค้าบริการและการลงทุน. (2562). การบริการสาขาการขนส่งทางทะเล (Maritime Transport Services). ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2564, จาก https://uat-api.dtn.go.th /files/v3/ 5d777d85ef4140628133c211/download

สุภางค์ จันทวานิช. (2554) การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์กรอนามัยโลก. (2548). กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 (2005). (พิมพ์ครั้งที่ 3). ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2564, จาก https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/thai. pdf?sfvrsn=9bb97cfd_0

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), 17-29.

Ashworth, S. (2564). การรับมือกับวิกฤตการแพร่ระบาด COVID-19 ของ HPT “ผลักดันความต่อเนื่องของซัพพลายเชนสินค้าท่ามกลางความท้าทายที่ยากจะคาดเดา”. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2564, จาก https://hutchisonports.co.th/th/?s=การรับมือกับวิกฤตการแพร่ระบาด+COVID-19+ของ+HPT+&lang=th

Millefiori, et al. (2021). COVID-19 impact on global maritime mobility. Sci Rep 11, 18039.

Okerman, J., & von Tigerstrom, B. (2021). Any Port in a Pandemic: International Law and Restrictions on Maritime Traffic during the COVID-19 Pandemic. Canadian Yearbook of international Law/Annuaire canadien de droit international, 58, 194 - 224.

United Nations. (2016). Maritime Transport Is ‘Backbone of Global Trade and the Global Economy’, Says Secretary-General in Message for International Day. Retrieved August 12, 2020, form https://www.un.org/press/en/2016/sgsm18129.doc.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30