การทดสอบเดือนกุมภาพันธ์และเมษายนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเดือนอื่นในตลาดหลักทรัพย์ไทย

ผู้แต่ง

  • กัลยานี ภาคอัต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ชยงการ ภมรมาศ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • คมวุธ วิศวไพศาล สาขาวิชาสารสนเทศการลงทุน วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

เดือนกุมภาพันธ์และเมษายนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเดือนอื่น, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเคลื่อนไหวของผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ไทย  2) ศึกษาผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในเดือนตุลาคมในตลาดหลักทรัพย์ไทย และ 3) ทดสอบเดือนกุมภาพันธ์และเมษายนที่ให้ผลตอบแทนของหลักทรัพย์สูงกว่าเดือนอื่นในตลาดหลักทรัพย์ไทย โดยศึกษาจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ สำหรับระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 ถึงเดือนธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสมการถดถอยแบบอนุกรมเวลา

ผลการวิจัยให้ข้อมูลว่า 1) ในภาพรวมการเคลื่อนไหวของผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ไทย (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: SET และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ: MAI)  เป็นรูปแบบแนวโน้มในระยะสั้น ๆ ทั้งแนวโน้มขึ้นและแนวโน้มลง ที่เรียกว่าการเคลื่อนไหวในรูปแบบออกไปด้านข้าง โดยแนวโน้มขึ้นจะปรากฏในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน  ส่วนแนวโน้มลงจะปรากฏในช่วงเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน หรือบางช่วงพบในเดือนมีนาคม  2) เดือนตุลาคมเป็นเดือนที่ให้ผลตอบแทนของหลักทรัพย์ต่ำที่สุดทั้งใน SET และ MAI ในช่วงระยะเวลาเดือนมกราคม 2550 – ธันวาคม 2565 และเดือนมกราคม 2550 – ธันวาคม 2559 โดยผลตอบแทนประมาณร้อยละ -35.92  ในขณะที่เดือนมีนาคมจะมีผลตอบแทนต่ำที่สุดในช่วงเวลาเดือนมกราคม 2560 – ธันวามคม 2565 ด้วยผลตอบแทนเท่ากับร้อยละ -17.45 ใน SET และ -19.19 ใน MAI และ 3) ปรากฏการณ์เดือนกุมภาพันธ์และเมษายนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเดือนอื่นยังคงมีอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไทย โดยเฉพาะในช่วงเวลาเดือนมกราคม 2550 – ธันวาคม 2565 และเดือนมกราคม 2550 – ธันวาคม 2559

References

กัลยานี ภาคอัต. (2558). เดือนของปีที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเดือนอื่นในตลาดหลักทรัพย์ไทย สิงค์ไปร์ และมาเลเซีย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, มหาวิทยาลัยมหานครเทคโนโลยี, 12 (1), 22-35.

ณัฐวุฒิ เจวิทยาโรจน์. (2560). การศึกษา “ช่วงของฤดูกาลที่ให้ผลตแบแทนที่สูงกว่าช่วงของฤดูกาลอื่น” ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า, 20, 117-132.

พรชนก เป้าจำนงค์ และกัลยานี ภาคอัต (2564). วันในสัปดาห์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าวันอื่นในตลาดหลักทรัพย์ไทย. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยปทุมธานี วันที่ 24 เมษายน 2564, 221-230.

Afik, Z., and Lahav, Y., (2015). A Better ‘Autopilot’ than Sell-in-May? 40 years in the US Market. Journal of Asset Management, 16, 41-51.

Aggarwal, K., and Jha, M., (2023). “Stock Returns Seasonality in Emerging Asian Markets”. Asia-Pacific Financial Markets, 30, 109–130.

Agrawal, A., and Tandon, K., (1994). Anomalies or Illusions? Evidence from Stock Markets in Eighteen Countries. Journal of International Money and Finance, 13 (1), 83-106.

Andrade, S. C., Chhaochharia, V., and Fuerst, M. E., (2013). “Sell in May and Go Away” Just Won’t Go Way. Financial Analysts Journal, 69 (4), 94-105.

Chan, M., Khanthavit, A., and Thomas, H., (1996). “Seasonality and Cultural Influence on Four Asian Stock Markets”. Asian Pacific Journal of Management, 13, 1-24.

Elangovan, R., Irudayasamy, F., and Parayitam, S., (2022). Month-of-the-Year Effect: Empirical Evidence from Indian Stock Market, Asia-Pacific Financial Markets, 29, 449-476.

Fama, E., (1970). Efficient Capital Markets: A Review of Theory and Empirical Work. The Journal of Finance, 25(2), 383-417.

Gultekin, M. N., and Gultekin, N. B., (1983). Stock Market Seasonality. International Evidence. Journal of Finance Economics, 12(4), 469-481.

Irawan, R., Nugraha, N., Dismam, D., and Supriatna, N. (2022). January Effect Analysis, and Stock Risk on Stock Return in Coal Companies Listed on the Indonesia Stock Exchange 2017 – 2022. Journal of Positive School Psychology, 6(2), 3291 -3298.

LalithaKumari G., and Uthra, V., (2018). An Analysis of Turn of the Month Effect on S&P BSE Healthcare Index in the Indian Stock Market. International Journal of Trend in Scientific Research and Development (ijtsrd), 2(2), 138-145.

Lim, K., Ng, D., and Ling, C., (2010). “Month-of-the-Year Effects in Asian: A20-Year Study (1990 – 2009)”. African Journal of Business Management, 4(7), 1351-1362.

Lucey, B. M. and Zhao, S., (2008). Halloween or January? Yet Another Puzzle. International Review of Financial Analysis, 17(5), 1055-1069.

Marrett, G., and Worthington, A., (2008). An Empirical Note on the Holiday Effect in the Australian Stock Market. Applied Economics Letters, 16(17), 1769-1772.

Mouselli, S., and Al Samman, H., (2016). “An Examination of the Month-of-the-Year Effect at Damascus Securities Exchange”. International and Journal of Economics and Financial Issues, 6(2), 573-577.

Mubarok, F., and Fadhli, M., (2020). “Efficient Market Hypothesis and Forecasting of the Industrial Sector on the Indonesia Stock Exchange”. Journal of Economics, Business, & Accountancy Ventura, 23(2), 160-168.

Nisar, S., Asif, R., and Ali, A., (2021). Testing the Presence of the January Effect in Developed Economies. MPRA Paper 112548, 1-15.

Pradnyaparamita, N.M.W., and Rahyuda, H., (2017). Pengujian Anomali Pasar January Effect Pada Perusahaan Lq45 Di Bursa Efek Indonesia. E-Jurnal Manajemen Universitas Udayana, 6(7), 3513-3539.

Rozeff, M., and Kinney, W., (1976). Capital Markets Seasonality: The Case of Stock Returns. Journal of Finance Economics, 3(4), 379-402.

Srinivasan, P., and Kalaivani, M., (2012). Exchange Rate Volatility and Export Growth in India: An Empirical Investigation. MPRA Paper 43828, University Library of Munich, Germany.

Thushara, S. C., and Perera, P., (2013). The Month-of-the-Year Effect: Empirical Evidence from Colombo Stock Exchange. Conference: 2nd International Conference on Management of Economics, 1-6.

Wachtel, S. B., (1942). Certain Observations on Seasonal Movements in Stock Prices. Journal of Business, 15(2), 184-193.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31