การส่งเสริมนวัตกรรมการสอนของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1

ผู้แต่ง

  • เจือศรี พูนพิพัฒน์ สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เจตน์สฤษฏิ์ อังศุกาญจนกุล สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การส่งเสริมนวัตกรรมการสอน, กลุ่มสาระการเรียนรู้, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำ ชีวิตวิถีใหม่ การจัดการด้านเทคโนโลยีกลยุทธ์ และนวัตกรรมการสอน 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อนวัตกรรมการสอน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำนวน 375 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 5 ตอน การวิเคราะห์ข้อมูลของเนื้อหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง

ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำ ชีวิตวิถีใหม่ การจัดการด้านเทคโนโลยี กลยุทธ์ และนวัตกรรมการสอน โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพล ได้แก่ (1) ภาวะผู้นำ ชีวิตวิถีใหม่ การจัดการด้านเทคโนโลยีและกลยุทธ์ส่งผลต่อนวัตกรรมการสอน เมื่อภาวะผู้นำเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้นวัตกรรมการสอนมากขึ้นด้วย (2) ชีวิตวิถีใหม่ไม่ส่งผลต่อนวัตกรรมการสอน (3) การจัดการด้านเทคโนโลยีส่งผลต่อนวัตกรรมการสอนเมื่อชีวิตวิถีใหม่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้นวัตกรรมการสอนเพิ่มขึ้น (4) กลยุทธ์ส่งผลต่อนวัตกรรมการสอนเมื่อกลยุทธ์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้นวัตกรรมการสอนเพิ่มมากขึ้นด้วย

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อรุณ.

กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม: แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฎฐ์ชุดา วิจิตรจามรี (2554). การสื่อสารในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์และโชติ บดีรัฐ. (2563). "New Normal" วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 371-386.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่ (Design- Based New Normal): ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.

วรพจน์ นิลจู. (2554). ภาวะผู้นำ The excellence leadership. กรุงเทพฯ: คอมแพคท์พริ้น.

วราภรณ์ สิงห์กวาง. (2561). รูปแบบการบริหารทีมงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พินันทา ฉัตรวัฒนา และพัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2563). รูปแบบการสอนอัจฉริยะเชิงสร้างสรรค์บนเว็บเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 8(2), 87-101.

พสุ เดชะรินทร์. (2552). การกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล Individual Scorecard. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 353-360.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (2564). กลุ่มหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563 จาก http://www.ccs1.go.th/ita

สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (ก.พ.). (2560). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล. ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2563, จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/ files/attachment/circular/w6-2561-attachment_0.pdf

สมาน อัศวภูมิ. (2558). ภาวะผู้นำและการบริหารการศึกษาสมัยใหม่. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 15(2),5-21.

สุพักตร์ พิบูลย์. (2549). ชุดเสริมทักษะการประเมินโครงการ. นนทบุรี: จตุพรดีไซด์.

โสพิศ ไชยประคอง. (2556). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลเมืองนะอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สิริภักตร์ ศิริโท รัตติญา ละเต็บซัน และวิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล. (2560). ความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถาบัน อุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 14(1), 159-177.

อดิศร ก้อนคำ. (2563). กลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Berry, B., Byrd, A. & Weider, A. (2013). Teacherpreneurs: innovative teachers who lead but don’t leave. San Francisco: Josey-Bass.

Ding, L., Velicer, W., & Harlow, L. (1995). Effect of estimation methods, number of indicators per factor and improper solutions on structural equation modeling fit indices. Structural Equation Modeling, 2(2),119-143.

Hair, J., et al. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper saddleRiver, New Jersey: Pearson Education International.

Westland, J. C. (2010). Lower Bounds on Sample Size in Structural Equation Modeling. Electronic commerce research and applications, 9(6), 476-487.

Yates, J.D. (2005). Women in Leadership Positions in Tennessee Public Schools: A Qualitative Study of Female Directors of Schools (Doctoral Dissertation). East Tennessee State University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30