การเมืองใน “สาส์นสมเด็จ”
คำสำคัญ:
การเมือง, สาส์นสมเด็จ, สำคัญการเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองการปกครองของประเทศสยามและประเทศไทย ที่ปรากฏในหนังสือชุด “สาส์นสมเด็จ” ที่มีความสัมพันธ์กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ 2) เพื่อศึกษา “คำสำคัญการเมือง” ที่ปรากฏในหนังสือชุด “สาส์นสมเด็จ”และความหมายต่อการเมืองการปกครองโดยรวมของประเทศสยามหรือประเทศไทยในปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลในหนังสือชุด “สาส์นสมเด็จ” วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้วิธีคิดทางประวัติศาสตร์ และ
การนำเสนอจะใช้การพรรณนาประกอบกับเหตุการณ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบอกเล่าถึงเหตุการณ์ทางการเมืองที่ได้ประสบการณ์ทั้งเรื่องในอดีตและเรื่องปัจจุบันผ่านหนังสือชุด “สาส์นสมเด็จ” 2) “คำสำคัญทางการเมือง” เป็นถ้อยคำที่ทรงสื่อสารกัน ที่ทั้งสองพระองค์พยายามหลีกเลี่ยงที่จะสื่อสารกันในเรื่องของการเมือง ได้แก่ คำว่า เจ้านายพระเกียรติยศ อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ขุนนาง ฝรั่ง และศิวิไลซ์ สำหรับคำสำคัญทางการเมืองเหล่านี้สามารถนำมาอธิบายความหมายต่อการเมืองการปกครองได้
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2556). โครงการวิจัย “กระบวนทัศน์ใหม่ของสื่อสารศึกษาไทย”. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2566, จาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/287521
จรรยวรรณ เทพศรีเมือง. (2560). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา TC04402 สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2556). กบฏวรรณกรรม: บทวิเคราะห์ประวัติศาสตร์และการเมืองในวรรณกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สมมติ.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2553). การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป). สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2566 จาก, https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/ cre_det.php?cr_id=64
ศิลปวัฒนธรรม. (2565). กรมดำรงซื้อไม่ได้ด้วยเงิน พระดำรัสไม่กลับเมืองไทย ทรงยอมใช้ชีวิตมัธยัสถ์ที่ปีนัง. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2566, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_40875
สถาบันพระปกเกล้า. (ม.ป.ป). สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2566, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สายชล สัตยานุรักษ์. (2546). สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ: การสร้างอัตลักษณ์. “เมืองไทย” และ “ชั้น” ของชาวสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน.
Mills, C. W. (2023). Mills, C. Wright 1916-1963. Retrieved May 5, 2023, from https://www.encyclo pedia.com/people/social-sciences-and-law/sociology-biographies/c-wright-mills
Mosca, G. (2023). Mosca, Gaetano (1858-1941). Retrieved May 5, 2023, from https://www.encyclopedia.com/humanities/encyclopedias-almanacs-transcripts-and-maps/mosca-gaetano-1858-1941
Pareto, V. (2023). Pareto, Vilfredo. Retrieved May 5, 2023, from https://www.encyclope dia.com/people/social-sciences-and-law/economics-biographies/vilfredo-pareto
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว