การใช้อำนาจรัฐและการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองผ่านศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • กุลธรี สวัสดิ์ศรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พัด ลวางกูร มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กานต์ บุณยะกาญจน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กฤติธี ศรีเกตุ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การใช้อำนาจรัฐ, ความชอบธรรมทางการเมือง, โรคอุบัติใหม่ไวรัสโคโรนา 2019, การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทที่มาปัจจัยแวดล้อมของการใช้อำนาจรัฐและการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองผ่าน ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และ 2) การใช้อำนาจรัฐและการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองผ่าน ศบค. โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยทางเอกสาร โดยเน้นการวิเคราะห์ตัวบท จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำสั่ง ข้อสั่งการ นโยบายและมาตรการที่บังคับใช้ในห้วงเวลาที่เกิดการแพร่ระบาด ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ถึง สิงหาคม
พ.ศ. 2564 นำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ และการวิเคราะห์ 3
มิติของ Fairclough

ผลการวิจัยพบว่า 1) รัฐมีความพยายามใช้อำนาจรัฐโดยการใช้กระบวนการผลิตสื่อ ตัวบทที่ปรากฏในการใช้อำนาจรัฐและการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองนั้นถูกนำเสนอโดยทีมโฆษกของ ศบค. มีความพยายามนำเสนอความรู้ ความเชื่อ เหตุผล อัตลักษณ์ รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดความใกล้ชิดระหว่างผู้นำเสนอตัวบท (ทีมโฆษก) และผู้รับสาร (ประชาชน) และ 2) รัฐมีการใช้อำนาจรัฐและการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองในการจัดการปัญหาสถานการณ์โควิด -19 ผ่าน ศบค. ซึ่งรัฐมีการใช้อำนาจรัฐระบบรวมศูนย์และรูปแบบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย โดยนำประเด็นด้านสาธารณสุขมากล่าวอ้างเป็นวาทกรรมทำให้เกิดข้อบกพร่องและความขัดแย้ง อาทิ ประเด็นปัญหาด้านกฎหมายจากการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ตรงเจตนารมณ์ของกฎหมาย ปัญหาทางสังคมที่มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างไร้ขอบเขต รวมไปถึงปัญหาการเมืองที่มีการใช้อำนาจรัฐจัดการกับผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจรัฐในช่วงการจัดการกับสถานการณ์โควิด-19 ขาดความชอบธรรม

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2548). แนวความคิคว่าด้วยรัฐ (ตอนที่ 1). ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564, จาก http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=295

ขวัญข้าว คงเดชา. (2563). ไวรัสอู่ฮั่นและการแพร่กระจายของอำนาจรัฐ. สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

จุลชีพ ชินวรรโณ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ถาวร เกียรติทับทิว. (2546). หลักการแบ่งแยกอำนาจและความสัมพันธ์ขององค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยตามแนวคิดของมองเตสกิเออ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 43(3), 155-184.

ภาราดา ชัยนิคม. (2560). รัฐไทยกับกรอบแนวคิดภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ (การศึกษาอิสระรัฐศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพรชบูรณ์.

ภูมิใจ เลขสุนทรากร ปิยะนุช ปี่บัว และศิวลีย์ สิริโรจน์บริรักษ์. (2560). แนวทางการสร้างความร่วมมือในการต่อต้านภัยคุกคามไม่ตามแบบระหว่างราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา: กรณีศึกษา เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างเชียงรายหลวงน้ำทา-สิบสองปันนา-เชียงตุง. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 8(1), 49-67.

รุ่งฤทธิ์ เพชรรัตน์. (2564). พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ ศบค. จะมีไว้ทำไม หากแก้ไข พ.ร.บ.โรคติดต่อ และสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข. ค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2564, จาก https://plus.thairath.co.th/ topic/speak/100495

วีระ เลิศสมพร. (2562). รัฐบาลไทยกับความชอบธรรมทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

วิษณุ เครืองาม. (2530). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณการ.

ศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต. (2564). โควิด-19 การล็อคดาวน์ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน. ค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2564, จาก https://think.moveforwardparty.org/article/ economy/1453/#1

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI). (2563). ปัญหาการกักตุนสินค้าจำเป็นในช่วงวิกฤติการโควิด-19. โครงการประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2563). หนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตี เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

อานันท์ เกียรติสารพิภพ. (2561). หลักการแบ่งแยกอำนาจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Andersson, S. & Heywood, P. M. (2009). The Politics of Perception: Use and Abuse of Transparency International's Approach to Measuring Corruption. Research December 15, 2022, from https://doi.org/10.1111/j.1467-9248.2008.00758

Buzan, B. (2014). An Introduction to the English School of International Relations. Massachusett: Polity Press.

Buzan, B., Waever, O. & Wilde, J. de. (1998). Security: A New Framework for Analysis. London: Lynne Rienner.

Guo, B. (2003). Political Legitimacy and China’s Transition. Journal of Chinese Political Science, 8, 1-25.

Johns Hopkins CSSE. (2021). อัพเดทสถานการณ์ ไวรัสโคโรน่า โดย Johns Hopkins CSSE. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.terrabkk.com/page/coronavirus

Shively, W. P. (2003). Power and Choice: An Introduction to Political Science. New York: McGraw Hill.

Sternberger, D. (1968). Legitimacy. In D.L. Sills (Ed.). International Encyclopedia of the Social Sciences Vol. 9 (244). New York: Macmillan.

Thomson, S. & Ip, E. C. (2020). COVID-19 emergency measures and the impending authoritarian pandemic. Journal of Law and the Biosciences, 7(1), 1-33.

Waever, O. (1995). Securitization and Desecuritization. in On Security, eds. Ronnie D. Lipschutz. New York: Columbia University Press.

Wongsawangpanich, K. (2021). Securitization: อำนาจการแพทย์ในฐานะความมั่นคงใหม่ และความไม่ไปไหนของทหารไทย. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2021 จาก, https://thematter.co/thinkers/ securitization-medic-covid/144201

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30