พฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทางออนไลน์

ผู้แต่ง

  • นฤชิต สุนทรกิติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เอื้อมพร ศิริรัตน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สโรชินี ศิริวัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค, การตัดสินใจซื้อ, สินค้าที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทางออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทางออนไลน์ 2) การตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทางออนไลน์ และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคกับการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทางออนไลน์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่เคยซื้อสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงผ่านทางออนไลน์ ซึ่งไม่ทราบประชากรที่แน่นอนจึงใช้สูตรของคอแครนโดยกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ .05 จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคมีพฤติกรรมซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทางออนไลน์ มากที่สุด คือ สุนัข ช่องทางที่ซื้อสินค้าทางออนไลน์มากที่สุด คือ Shopee ความถี่ในการซื้อสินค้าทางออนไลน์ น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง คือ 501 – 1,000 บาท ประเภทของสินค้าที่ซื้อส่วนใหญ่ คือ อาหารและขนม เหตุผลที่สำคัญในการเลือกซื้อทางออนไลน์ คือ คุณภาพของสินค้า 2) การตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทางออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทางออนไลน์ที่ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้บริโภคที่มีการศึกษาที่แตกต่างกัน จะมีการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทางออนไลน์ที่แตกต่างกัน โดยผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทางออนไลน์ที่มากกว่าระดับการศึกษาอื่น

References

กิ่งกาญจน์ ย่าหลี. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารสุนัขสำเร็จรูปของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฐานข้อมูลเพื่อการขึ้นทะเบียนสุนัข-แมว. (2562). แผนที่แสดงจำนวนสุนัข - แมว (ปี 2562 รอบที่1) สำรวจโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564, จาก http://164.115.40.46/ petregister

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). ธุรกิจสัตว์เลี้ยงยังเติบโต เหตุคนรักหมา แมว เหมือนลูก ทุ่มเงินจ่ายไม่อั้น. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.thairath.co.th/business/market/ 1912957

ธารินี พัชรเจริญพงศ์. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติของนักศึกษาชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปัทมาภรณ์ ปัญญา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันช้อปปี้ (Shopee) ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสงขลา.

ประชาชาติธุรกิจ. (2564). บูมตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง เวิร์กฟรอมโฮมดันไทยส่งออก PET FOOD อันดับ 3 โลก. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.prachachat.net/economy/news-672706

เพชรี เทียนธาดา. (2563). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปสำหรับแมวในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2550). การบริหารการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สาวิตรี รัฐนิยม. (2563). การตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). ตัวเลขภาพรวมตลาด e-Commerce ปี 2016. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.etda.or.th/content/value-of-e-commerce-survey-in-thailand-2017.html

สุจรรยา น้ำทองคำ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคทางสื่อออนไลน์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เสรี วงษ์มณฑา. (2552). กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดออนไลน์ และการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ผ่านสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. (The Millennium ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (1994). Consumer Behavior. (5thed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30