การพัฒนาการท่องเที่ยวทุ่งบัวแดงบึงละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ณัฐฏิกา พิมพ์เมืองเก่า สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โอชัญญา บัวธรรม สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาการท่องเที่ยว, ทุ่งบัวแดงบึงละหาน, ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยว 2) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อทรัพยากรการท่องเที่ยว และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในทุ่งบัวแดงบึงละหาน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้มีหน้าที่บริหารจัดการและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยตรง จำนวน 15 คน ใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในประเด็นสำคัญที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวทุ่งบัวแดงบึงละหาน จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ศักยภาพด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และศักยภาพด้านความสามารถในการเข้าถึง ตามลำดับ 2) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความพึงพอใจด้านแหล่งท่องเที่ยว และความพึงพอใจด้านความสามารถในการเข้าถึง  ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในทุ่งบัวแดงบึงละหานเรียงลำดับตามด้านที่ต้องพัฒนาเร่งด่วน ประกอบด้วย 6 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านความสามารถในการเข้าถึง (2) ด้านที่พักแรม (3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (4) ด้านการจัดการและการบริการ (5) ด้านแหล่งท่องเที่ยว และ (6) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว

References

กรกนก เกิดสังข์ และณัฐมน ราชรักษ์. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชิงกลยุทธ์ : กรณีศึกษาตำบลบางใบไม้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(2), 231-250.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). บึงละหาน. ค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566, จาก https://thailand tourismdirectory.go.th/

คัชพล จั่นเพชร. (2564). การรับรู้คุณค่าองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจด้านพฤติกรรมและการบริโภคของนักท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัย. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 28(1), 103-115.

จันทา ไชยะโวหาน. (2562). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อถ้ำนางแอ่น เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป ลาว (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

จารุวรรณ กมลสินธุ์ และอรวรรณ เกิดจันทร์. (2564). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัดศรีอุทุมพร ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 492-503.

ฉัตรชัย อินทสังข์ และดุษฎี เทียมเทศ บุญมาสูงทรง. (2562). การศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวเชิงชุมชน กลุ่มมิลเลนเนียล: กรณีของบ้านด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยากรจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(1), 1-12.

ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทะเลบัวแดง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(3), 1237-1253.

ทวีศักดิ์ เฉลิมแสน. (2558). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทะเลบัวแดงชุมชนบ้านเดียม ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(2), 72-78.

ธนกฤต ยอดอุดม และคณะ. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอพรหมคีรี อำเภอนบพิตำ และอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 209-220.

ธันย์นิชา เกียรติทับทิว เลิศนรเศรษฐ์. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตลาดน้ำทุ่งบัวแดง ณ บางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 7(2). 54-69.

นุชนารถ กฤษณรมย์ และปรีดา นัคเร. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว กรณีอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(1), 128-140.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปนัสยา สิระรุ่งโรจน์กนก. (2559). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม(ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

วิทัญญู ขำชัยภูมิ, วิมลศิลป์ ปรุงชัยภูมิ และ ณัฐปราย์ ชัยสินคุณานนต์. (2561). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 3(2), 68-76.

วรัญญา ไชยทารินทร์ และอริยา เผ่าเครื่อง. (2561). ศักยภาพและความพร้อมบริการทางการท่องเที่ยวกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(5), 390-403.

วัลย์จรรยา วิระกุล. (2563). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการมาท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(1), 191-204.

ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร, โอชัญญา บัวธรรม และชัชชญา ยอดสุวรรณ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มช., 9(1), 234-259.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยภูมิ. (2565). สำนักงานพัฒนาชุมนจังหวัดชัยภูมิ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. ค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566, จาก https://chaiyaphum.cdd.go.th/

Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination of the future. Tourism Management, 21, 97-116.

Damsi, D., & Dac, S.S. (2020). 7 As and Promotion of Senior Tourism From Post-COVID Zero-Tourism to Senior Tourism. Retrieved July, 28, 2023, from https://www.resear chgate.net/publication/347440147_7As_and_Promotion_of_Senior_Tourism_From_Post-COVID_Zero-Tourism_to_Senior_Tourism

Kotler, P. (2009). Marketing Management. Global Edition: Pearson Education Inc..

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. . Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Kuzak, M., & Rimmington, M. (2000). Tourist satisfaction with Mallorca, Spain, as an off-season holiday destination. . Journal of Travel Research, 38(3), 260-269.

Wiweka, K., Indrajaya, T., Wachyni, S.S., Adnyana, P.P. & Hanorsian, A.E. (2019). Opportunities and Challenges for the Development of Sustainable tourism Attraction at Batu Kapal Beach, Centra Maluku Lilibooi Village. Advances in Research, 19(3), 1-114.

Yooshik, Y., & Muzaffer, U. (2005). An examination of the effects of motivation and satisfaction on destination loyalty: A structural model. Tourism Management, 26(1), 45-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31