องค์ประกอบเชิงยืนยันของจริยธรรมนักฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปิยพันธุ์ ชบา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ปรีชา พงศ์เพ็ง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • บัณฑิต ผังนิรันดร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

จริยธรรม, นักฟุตบอลอาชีพ, องค์ประกอบเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันจริยธรรมของนักฟุตบอลอาชีพ 2) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของประเมินจริยธรรมของนักฟุตบอลอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาระดับองค์ประกอบเชิงยืนยันจริยธรรมของนักฟุตบอลอาชีพ การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือนักฟุตบอลอาชีพที่เล่นในไทยลีก ฤดูกาล 2020 จำนวน 765 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัย
เชิงคุณภาพ ใช้สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับกีฬาฟุตบอลอาชีพ จำนวน 17 คน ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบเชิงยืนยันจริยธรรมของนักฟุตบอลอาชีพ ประกอบดัวย (1) ความมีระเบียบวินัย (DISCIPL) (2) ความรับผิดชอบ (RESPONS) (3) ความซื่อสัตย์ (HONESTY) (4) ความมีน้ำใจนักกีฬา (SPORTS) (5) ความรักและศรัทธาในอาชีพ (PASSION) (6) ความอดทน (PATIENCE) และ (7) ความสามัคคี (UNITY) 2) เกณฑ์ปกติของประเมินจริยธรรมของนักฟุตบอลอาชีพ ภาพรวมมีจริยธรรมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 25.36 มีจริยธรรมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 25.23 มีจริยธรรมอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ร้อยละ 24.97 และมีจริยธรรมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ร้อยละ 24.44 และ 3) ด้านความรักและศรัทธาในอาชีพ ด้านความสามัคคี และด้านความซื่อสัตย์ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความอดทน ด้านความมีน้ำใจนักกีฬา ด้านความรับผิดชอบ และความมีระเบียบวินัยอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ

References

นงลักษณ์ วิรัชชัย และคณะ. (2551). การสำรวจและสังเคราะห์ตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.

วิสัย คะตา วัลนิกา ฉลากบาง พรเทพ เสถียรนพเก้า และเอกลักษณ์ เพียสา. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้จริยธรรมการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม,10(3), 40-48.

สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กาฬสินธุ์: ประสาน.

สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2549). ที่ระลึกครบรอบปีสมาคม ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูประถัมภ์. กรุงเทพฯ: กราฟฟิค ครีเอชั่น.

สำเนียง ยอดคีรี. (2560). จริยธรรมและคุณธรรมตามแนวความคิดของนักปรัชญา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 22(2), 37-53.

สุริยัน สมพงษ์,วิมลมาศ ประชากุล และสุพิตร สมาหิโต. (2554). การสร้างแบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจสำหรับนักกีฬาเทควนโด้. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการกีฬา, 11(2), 255-268.

อัจฉราลักษณ์ วิเศษ และรัชนี ขวัญบุญจัน. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมของครูพลศึกษา. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 14(1), 140-160.

อรทัย ทองฤกษ์ฤทธิ์ และคณะ. (2561). คุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย, 249-261.

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis. (8th ed). New Jersey: Pearson Education.

Kohlberg, L. (1969). Moral Stages and Moralization: The Cognitive Development Approach, in Moral Development and Behavior: Theory Research and Social Issues. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Mehrens, W. A., & Lehmann, I. J. (1991). Measurement and evaluation in education and Psychology. (2nd ed.). New York, NY: Houghton Mifflin Company.

National Council of Educational Research and Training. (2016). Ethics in sports. in Health and physical education. New Delhi: National Council of Educational Research and Training.

Piaget, J. & Inbelder, B. (1969). The Psychology of the Child. New York: Babic Book, Inc.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2016). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. (4th ed.). Abingdon: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31