แนวทางการบริหารการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ:
นโยบายรัฐด้านการขนส่งสินค้า, การบริหารองค์กรขนส่ง, เทคโนโลยีการขนส่ง, การบริหารการขนส่งสินค้า, ประสิทธิภาพการขนส่งบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับนโยบายรัฐด้านการขนส่งสินค้า การบริหารองค์กรขนส่ง เทคโนโลยีการขนส่งสินค้า การบริหารการขนส่งสินค้า และประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก
2) นโยบายรัฐด้านการขนส่งสินค้า การบริหารองค์กรขนส่ง เทคโนโลยีการขนส่งสินค้า การบริหารการขนส่งสินค้าที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก และ 3) แนวทางการบริหารการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร รวมจำนวน 300 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างมีสัดส่วน
ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จำนวน 15 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายรัฐด้านการขนส่งสินค้า อยู่ในระดับมาก การบริหารองค์กรขนส่ง เทคโนโลยีการขนส่งสินค้า การบริหารการขนส่งสินค้า และประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก อยู่ในระดับมากที่สุด 2) นโยบายรัฐด้านการขนส่งสินค้าส่งผลต่อการบริหารองค์กรขนส่ง การบริหารองค์กรขนส่งส่งผลต่อเทคโนโลยีการขนส่งสินค้า การบริหารการขนส่งสินค้า และประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก ด้านเทคโนโลยีการขนส่งสินค้าส่งผลต่อการบริหารการขนส่งสินค้าและประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก การบริหารการขนส่งสินค้าส่งผลทางตรงกับประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก 3) ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องบริหารจัดการองค์กรให้ก้าวทันกับนโยบายรัฐด้านการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง มีเงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอ ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจัดการข้อมูลองค์กร และบริหารการปฏิบัติการขนส่งสินค้าด้วยเทคโนโลยีการขนส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและสามารถแข่งขันได้
References
กรมการขนส่งทางบก. (2564). มาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก Q Mark. ค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.dlt.go.th/site/nonthaburi/mnews/7224/view.php?_did=34933
กรมการขนส่งทางบก. (2565). ข้อกฎหมายและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขนส่ง. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.dlt.go.th/site/skp5/m-news/1043/
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2565). โครงการจัดสร้างโครงข่ายการขนส่งสินค้า (ไป-กลับ). ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก https://www.dip.go.th/files/Cluster/3.pdf
ฐสิงห์ โง้วเจริญไพศาลสิน. (2560). การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า กรณีศึกษา บริษัท จินดาขนส่ง จำกัด (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ณรงค์ กุลนิเทศ และสุดาวรรณ สมใจ. (2558). ระเบียบวิธีวิจัยชั้นสูง และการออกแบบวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มาสเตอร์พรินท์สามเสน.
ธีระพงษ์ รอดประเสริฐ. (2561). มาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก (Q Mark) เพื่อเสริมศักยภาพการขนส่งไทย สู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์อาเซียน. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?_did=2068
เบญจพร สุวรรณแสนทวี. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการในการขนส่งโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในเขตกรุงเทพและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปิยะนุช สถาพงศ์ภักดี. (2562). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562-2564: ธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางถนน. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/logistics/road-freight-transportation/IO/io-road-freight-transportation-20
ปิยะนุช สัมฤทธิ์ และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจขนส่งและการกระจายสินค้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 21(1), 7-21.
พระราชบัญญัติกรมการขนส่งทางบก. (2522). ความหมายการขนส่ง. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.krisdika.go.th/librarian/getfile?sysid=321681&ext=htm
วิภาวรรณ พันธ์สังข์. (2554). การพัฒนาระบบวางแผนการขนส่งเพื่อลดการเดินรถบรรทุกเที่ยวเปล่า (วิทยานิพนธ์วิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ. (2565). การทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.posttoday.com/social/general/673523
ศิริวรรณ กาวิชา และนพปฎล สุวรรณทรัพย์. (2564). ประสิทธิภาพทางด้านโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ประกอบการส่งออกผลไม้. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 95-108.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. ค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://plan.bru.ac.th
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). แนวทางการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมาลี วงษ์วิทิต. (2561). กฎหมายเพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์. วารสารรามคำแห่ง ฉบับนิติศาสตร์, 7(1), 29-30.
GIZTIX. (2562). ปัญหาที่มักพบในระบบขนส่ง. Retrieved February 16, 2022, from https://blog.giztix.com/ปัญหาที่มักพบในระบบขนส-2/
Grace, J. B. (2008). Structural Equation Modeling for Observational Studies. Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.
ICONEXT. (2021). ประสิทธิภาพของแผนการขนส่งด้วยระบบวางแผนและควบคุมการขนส่ง. Retrieved March 25, 2022, from https://www.smri.asia/th/iconext/news/3116/
My Cloud Fulfillment. (2020). Order Management. Retrieved April 10, 2022, from https://www.mycloudfulfillment.com/order-management/
Ratchagit, T. (2019). ทฤษฎีการบริหารจัดการ POCCC. Retrieved February 22, 2022, from https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190626-poccc-henri-fayol/
Ricky W. Griffin. (1999). Management (6th ed.). Boston: Houghton Griffin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว