คุณภาพการให้บริการและความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการด้านการขนส่งสินค้าของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก

ผู้แต่ง

  • วงศกร อยู่มาก วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, การขนส่งสินค้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพการให้บริการด้านการขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันตก 2) ความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านการขนส่งในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก 3) ความตั้งใจใช้บริการด้านการขนส่งสินค้าของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก และ 4)คุณภาพการให้บริการและความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการด้านการขนส่งสินค้าของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ เขตกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริโภคที่เคยที่ใช้บริการขนส่งสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก จำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการด้านการขนส่งในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านการขนส่งในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความตั้งใจใช้บริการด้านการขนส่งสินค้าของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) คุณภาพการให้บริการและความได้เปรียบทางการแข่งขันส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการด้านการขนส่งสินค้าของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรวิท ชุณห์อนุรักษ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเลือกผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กิตตินาท นุ่นทองและคณะ. (2564). ปัจจัยคุณภาพการบริการโลจิสติกส์ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(3), 42-63.

คฑาวุธ เจียมบัวและสันติธร ภูริภักดี. (2563). ผลของคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้า:กรณีศึกษาผู้ให้บริการโลจิสติกส์แบบขนส่งด่วนในประเทศไทย. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 1(2), 35-60.

ฐายิกา เงินประสม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการกับความภักดีต่อตราสินค้าของผู้ใช้บริการบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จํากัด สาขาตลาดรังสิต. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 55, 451-458.

ณอร แสงชนินทร์, ภาศิริเขตปิยรัตน์และศิริกานดา แหยมคง. (2566). ความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 5(1), 1-14.

เทพรังสรรค์ ศรีทองอินทร์. (2563). ความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ และบริการ PlayStation ผ่านร้านค้าปลีก ของผู้บริโภคในกลุ่ม Facebook (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นราธิป แนวคําดี กฤษณ์ ทัพจุฬาและดวงใจ อังโก๊ะ. (2562). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของบริษัทพรอมิส (ประเทศไทย) จํากัด สาขาบางแคพลาซ่า กรุงเทพมหานคร. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 6(2), 203-214.

นิตยา สุภาภรณ์. (2564).ความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 43-52.

ปภินดา คำมณี. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการระบบขนส่งสินค้าของบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด กรณีศึกษา นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์บริหารมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปุญญภพ ตันติปิฎก. (2566). เกาะติดตลาดขนส่งพัสดุ 2022 : เร่งปรับตัวและขยายสู่ตลาดใหม่ในวันที่การแข่งขันยังรุนแรงต่อเนื่อง. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2566, จาก https://www.scbeic.com/ th/detail/product/8322

วสุธิดา นักเกษม และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(1), 2148-2167.

วิริยา บุญมาเลิศ. 2560. ปัจจัยของกิจกรรมโลจิสติกส์ด้านการขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจบริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พิมพ์ชนก อรรถวิเวก. (2562). คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจธนาคารทหารไทยธนชาต. (2566). คาดธุรกิจขนส่งพัสดุปี 2566 โตต่อเนื่อง. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2566, จาก https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/e-commerce-delivery-2566

สุทิน ชนะบุญ. (2560). บทที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน. สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น. (น.148-160). ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สมบัติ ท้ายเรือคํา. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธ์: ประสาน.

วัชรินทร์ แซ่เอ็ง (2557) ความพึงพอใจคุณภาพการบริการในเรื่องของการให้ความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าและความเอาใจใส่ต่อการให้บริการมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจใช้บริการ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179–211.

Boyer, K., & Lewis, M. (2002). Competitive Priorities: Investigating the Need for Trade-Offs in Operations Strategy. Production and Operations Management, 11, 9-20.

Cao, C., & Chen, J. (2011). An empirical analysis of the relationship among service quality, customer satisfaction and loyalty of high-speed railway based on structural Equation Model. Canadian Social Science, 7(4), 67-73.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed). New York: John Wiley & Sons.

Cronbach, L. (1990). Essentials of Psychological testing. (5th ed). New York: Harper.

Fishbein, M., and Ajzen, I. (2010). Predicting and changing behavior: the reasoned action approach. New York: Psychology Press.

Hanif, M., Hafeez, S., & Riaz, A. (2010). Factors Affecting Customer Satisfaction. International Research Journal of Finance and Economics, (60), 44-52.

Ismail, A., Zaki, H. O., & Rose, I. R. (2016). Interlink ages between Service Quality, Customer Satisfaction and Customer Loyalty in Malaysia: A Case Study of Armed Forces. Journal of Marketing, (18), 36-44.

Leninkumar, V. (2016). The Effect of Service Quality on Customer Loyalty. European Journal of Business and Management, 33(8), 44-49.

Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale,” in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41.

Porter, M.E. (1985). Competitive Advantage Creating and Sustaining Superior Performance. New York: Scientific Research Publishing.

Zeithaml, V.A. (2000). Service Quality, Profitability, and the Economic Worth of Customers: What we Know and what we Need to Learn. Journal of the Academy of Marketing Science, 28(1), 67-85.

Zeithaml, V.A., Parasuraman, A. and Berry, L.L. (1990). Delivering Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31