ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานประกันชีวิตในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สรัญญา สุทธิวรพงศ์ศรี คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ธนกร พงษ์ภู่ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ปัจจัยแรงจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน

บทคัดย่อ

เมื่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นอย่างมากโดยเป็นกลไกสำคัญต่อการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานประกันชีวิตในกรุงเทพมหานครกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานประกันชีวิตในกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานประกันชีวิตในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเครื่องมือในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานประกันชีวิตในกรุงเทพมหานครพบว่า ปัจจัยแรงจูงใจด้านลักษณะของงานมีระดับความเห็นในระดับมากที่สุดและปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหารงานมีระดับความเห็นในระดับมากที่สุดและ 2. การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยแรงจูงใจโดยรวมส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานประกันชีวิตในกรุงเทพมหานคร สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 76.10 และปัจจัยค้ำจุนโดยรวมก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานประกันชีวิตในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 61.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งผู้บริหารสามารถนําข้อมูลมาใช้ในการการบูรณาการเครื่องมือและนโยบายต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับปัจจัยแรงจูงใจและปัจจัยค้ำจุนมาเป็นแรงเสริมในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานประกันชีวิต
ในกรุงเทพมหานคร

References

กฤตภาคิน มิ่งโสภา และณกมล จันทร์สม (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. Journal of Management Science Review, 23(2), 209-222.

กฤษดา เชียรวัฒนสุข และปริญญ์ ศุกรีเขตร (2564). ความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงจูงใจในการ ทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. Rajapark Journal, 15(40), 96-110.

จุรี วรรณาเจริญกุล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3(2), 125-138.

ฆฬิสา สุธดาอนันตโภคิน และภมร ขันธะหัตถ์ (2564). ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี,13(1), 23-38.

ชัยวุฒิ เทโพธิ์ และพงษ์เสถียร เหลืองอลงกต (2563). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ พนักงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้าน สมเด็จเจ้าพระยา, 14(1), 251-265.

ชลิดา ลิ้นจี่, กนกมณี หอมแก้ว และกัญธิมา อิ่มใจ (2564). การบริหารการจัดการที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. Rajapark Journal, 15(40), 124-134.

ชุมพล รอดแจ่ม, ปรีชา ปานโนรัมย์, ไปรยา อาสิงสมานันท์ และคณิติน ส่งโสภา (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผล ต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. Journal of Innovation and Management, 6(2), 143-157.

ณฐพัฒน์ มั่งชม, ธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ และประสิทธิชัย นรากรณ์. (2565). ภาวะผู้นำและปัจจัยที่ส่ง ผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(1), 170-186.

นุชา เก้าลิ้ม, อรพรรณ ตู้จินดา และดวงใจ ชนะสิทธิ์. (2566). คุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1. The Journal of Institute of Trainer Monk Development, 6(1), 172-182.

ปรัชญาภรณ์ แก้วรอด และวนิชย์ ไชยแสง (2566). ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมการปกครอง ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Journal of Roi Et Rajabhat University, 17(2), 188-199.

พัชสิรี ชมภูคำ และณัฐธิดา จักรภีร์ศิริสุข (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานและแรงจูงใจ ของคนเจนเนอเรชั่น Y และคนเจนเนอเรชั่น Z. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(3), 1-18.

ลลิตา ปาละกูล และอรนันท์ กลันทปุระ (2565). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(3), 162-175.

วิไชยัน สีหะวงษ์. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ในการปฏิบัติงานของข้าราชการในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2565. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(1), 48-55.

สุธิมา เกิดสุข และดวงพร พุทธวงค์ (2563). ปัจจัยจูงใจปัจจัยค้ำจุนและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 333-344.

อัจจิมา เสนานิวาส และสรัญณี อุเส็นยาง (2565). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(1), 29-40.

อาภาวี เรืองรุ่ง. (2566). ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตําบลโคกสําโรง อําเภอโคกสําโรง จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 243–254.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition. New York: John Wiley & Sons.

Domjan, M. (1996). The Principles of Learning and Behavior Belmont. California: Thomson Wadsworth.

Gattiker, U. E. and Larwood, L. (1986). Subjective Career Success: A Study of Managers and Support Personnel. Journal of Business and Psychology, 1(2), 78-94.

Hanson, Mark E. (1996). Educational Administration and Organizational Behavior. 4thed. Boston: Allyn and Bacon.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley & Sons.

Herzberg, F. (1966). Work and the Nature of Man. New York: World Publishing.

HREX.asia. (2019). สิ่งสำคัญในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานคืออะไร. ค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2022, จาก th.hrnote.asia/orgdevelopment/whyimportantmotivation/

Judge, T. A., Locke, E. A., Durham, C. C., & Kluger, A. N. (1998). Dispositional effects on job and life satisfaction: The role of core evaluations. Journal of Applied Psychology, 83(1), 17–34.

Krungthai Compass. (2023). ส่องเศรษฐกิจปลายปี. ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2023, จาก https://krungthai.com/th/krungthai-update/news-detail/2645

Lens, D., Mussche, N., & Marx, I. (2022). The different faces of international posting: Why do companies use posting of workers?. European Journal of Industrial Relations, 28(1), 27-45.

Lovell, R.B. (1980). Adult Learning. New York : John Wiley & Sons, Inc.

Nunnally, J. C. (1978). Educational Measurement and Evaluation. (2nd ed). New York: McGraw-Hill.

Plowman, E., & Peterson, C. (1989). Business organization and management. Illinois: Irwin.

Robbins, S. P., Judge, T. A., & Soderman, L. (2013). Organizational Behavior (15th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Thaipublica. (2023). ธุรกิจประกันชีวิตเผยครึ่งแรก ปี 2566 เบี้ยประกันภัยรับรวมโต 3.78%. ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2023, จาก https:// thaipublica.org/2023/07/thai-life-insurance-industry-sees-growth-in-1st-half-premium/

Workpointtoday. (2022). เซ่นพิษ ‘เจอ-จ่าย-จบ’ บริษัทประกันทยอย ‘เลิกกิจการ’. ค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2022, จาก https://workpointtoday.com/insurance-companies-close-down/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31