การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจโรงเรียนการบิน โดยการใช้ทฤษฎีฐานทรัพยากร กรณีศึกษา ณ โรงเรียนการบินเอกชนแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
ความได้เปรียบในการแข่งขัน, โรงเรียนการบิน, ทฤษฎีฐานทรัพยากร, หลักการของ VRIO Frameworkบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ทรัพยากรของธุรกิจโรงเรียนการบินตามหลักการของทฤษฎีฐานทรัพยากรและ2) เพื่อเป็นแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจโรงเรียนการบินอย่างยั่งยืน โดยที่รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก รวมทั้งสิ้น 5 ราย โดยใช้วิธีการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลด้วยการเขียนบรรยายเชิงพรรณนาผลการศึกษาการวิเคราะห์ทรัพยากรภายในองค์กร 7 ด้าน
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์กรมีความได้เปรียบทางการแข่งขันจากการวิเคราะห์ทรัพยากรทั้ง 7 ด้าน ประกอบด้วย องค์กรมีบุคลกรครูการบินเป็นผู้ที่มีประสบการณ์หลากหลายด้านและมีการแบ่งประเภทการสอนของครูการบิน องค์กรได้มีนโยบายกำกับดูแลการบริหารได้อย่างครอบคลุมทั้ง 3 สถานที่ มีแนวทางการพัฒนาศักยภาพของศิษย์การบินให้เป็นที่ยอมรับจากสายการบินพาณิชย์ มีพื้นที่ปฏิบัติการบินเป็นของตัวเองและเป็นโรงเรียนการบินเอกชนที่ประกอบธุรกิจในด้านโรงเรียนการบินมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี และ 2) แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน องค์กรจึงต้องมุ่งประเด็นการดำเนินงาน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1 ด้านผู้นำด้านราคา 2 ด้านการตอบโจทย์ลูกค้าเฉพาะทาง 3 ด้านธุรกิจที่แตกต่าง และ 4 สินค้าต้องเป็นสิ่งที่คุ้มค่าทางการตลาด
References
ภรณ์ ทิพย์แก้วสุจริต. (2559). การรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ของผู้ใช้ บริการในเขตจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปริฉัตร วงศ์ปัจฉิม. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งตามความคิดเห็นของผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางในจังหวัดหนองคาย. มหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 10-18.
ธีรยุทธ์ เรืองศิริวิวัฒน์ และสุธรรม พงศ์สำราญ. (2561). พฤติกรรมการเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างสำหรับการตกแต่ง ภายใน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1), 158-163.
จันทิมา รุ่งเรือง. (2563). โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในยุคดิจิทัล (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วรกมล ปิ่นทอง และสุภา ทองคง. (2563). อิทธิพลของความเชี่ยวชาญและความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชีที่มีผลต่อความสำเร็จใน การสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 6(1), 94-103.
หัฏฐกรณ์ แก่นท้าว. (2564). หลักและเทคนิคการบริหารเวลาสำหรับผู้บริหาร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์,10(1), 300-308.
ปิยะ ตรีกาลนนท์. (2564). การปรับตัวของธุรกิจโรงเรียนการบิน ฝ่าวิกฤตโควิด-19. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2566,จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000037826
จิตกร วิจารณรงค์. (2564). การจัดการท่องเที่ยวไทยในยุค NEW NORMAL. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์,10(4), 372-381.
ณัฏฐณิชย์ ศรีมาเสริม และญาดา เอื้อสมิทธ์. (2565). การ ประยุกต์ใช้แนวคิดการทำงานแบบ Agile เพื่อการพัฒนาระบบงาน: กรณี ศึกษาสำนักงานผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์ โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสังคมศาสตร์ บูรณาการมหาวิทยาลัย มหิดล, 9(2), 193-214.
พิชญา เทียนภู่ และวัชระ เวชประสิทธิ์. (2565). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการตลาดน้ำชุมชนในเขต ภาคกลางของประเทศไทย. Valaya Alongkorn Review, 12(1), 162-177.
ธัญพิมล วสยางกูร และจารุวรรณ พลอยดวงรัตน์. (2565). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคการเปลี่ยนแปลงพลิกผันด้วยการสร้าง องค์กรแห่งความคล่องตัว. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย(ส พบ ท.), 4(4), 15-28.
น้ำฝน พิทักษ์โรจนกุล และสมศักดิ์ เอี่ยมคงสี. (2565). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 1371-1386.
เอริส อินเตอร์เนชันแนล. (2565). ทรัพยากรที่ถูกใช้ภายในองค์กร. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, จาก https://aresth.co.th/information/Organizational-resources
ธวัลรัตน์ เกื้อสุวรรณ, อภิรดา นามแสง และวราภรณ์ เต็มแก้ว. (2565). การศึกษาการดำเนินงานของ บริษัทนำเที่ยวตามหลักการทรัพยากรในการบริหาร 4M ระหว่างการระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี, 19(2), 153-163.
ณัฐชา พูนผล และรุจาภา แพ่งเกษร. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าเรียนหลักสูตรนักบินพาณิชย์ของศิษย์การบินโรงเรียนการบินกรุงเทพ. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 15, หน้า 70-79.
ศสิมา สุขสว่าง. (2566). ความท้าทายสำหรับผู้นำองค์กรยุคใหม่. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, จาก https:sasimasuk.com/16768188/vuca-world
เรวัต สมบูรณ์, ชวนคิด มะเสนะ และนเรศ ขันธะรี. (2566). รูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลยุคดิจิทัลใน โรงเรียนเอกชน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(2), R262-R275.
Barney, J. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of management, 17(1),99-120.
Barney, J. B. (1995). Looking inside for competitive advantage. Academy of Management Perspectives, 9(4), 49-61.
Park, S. (2020). Marketing management (Vol. 3). Seohee Academy.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว