แนวทางการกำกับดูแลการนำเสนอของสื่อวิทยุโทรทัศน์ไทยอย่างมีธรรมาภิบาล
คำสำคัญ:
ธรรมาภิบาล, การกำกับดูแลสื่อ, การนำเสนอของสื่อวิทยุโทรทัศน์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาการกำกับดูแลกันเองของสื่อวิทยุโทรทัศน์ไทย 2) วิเคราะห์บริบทวัฒนธรรมสังคมและเศรษฐศาสตร์การเมืองของสังคมไทยที่มีผลต่อธรรมาภิบาลในการนำเสนอของสื่อวิทยุโทรทัศน์ไทย 3) วิเคราะห์ธรรมาภิบาลในการนำเสนอของสื่อวิทยุโทรทัศน์ไทยในปัจจุบันตามมาตรฐานสากลของหลักธรรมาภิบาลสื่อ และ 4) แนวทางในการกำกับดูแลสื่อวิทยุโทรทัศน์ไทยเพื่อให้มีธรรมาภิบาลตามมาตรฐานสากล และเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 3 กลุ่ม คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำกับดูแลสื่อวิทยุโทรทัศน์ไทย รวม 48 ราย ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความทับซ้อนเชิงโครงสร้างทางอำนาจเป็นปัญหาที่ทำให้กลไกการกำกับดูแลกันเองไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ความเข้มแข็งขององค์การวิชาชีพสื่อไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบกิจการและสังคมถึงความสามารถในการกำกับดูแลได้ 2) วัฒนธรรมอำมาตยาธิปไตยที่ฝังรากลึกส่งผลต่อการปฏิบัติงานขององค์การกำกับดูแลอย่าง กสทช. กลไกการกำกับดูแลที่ไม่สอดรับกับยุคสมัยแห่งการหลอมรวมสื่อก็เป็นผลมาจากความต้องการถือครองอำนาจของรัฐ 3) การที่จะทำให้เกิดธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลได้นั้น ทุกตัวแสดงได้แก่ หน่วยงานภาครัฐอย่าง กสทช. องค์การผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ องค์การสื่อผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ภาคประชาสังคมและประชาชน ควรจะต้องได้รับพื้นที่ให้มีบทบาทอย่างเท่าเทียมกัน และ 4) แนวทางได้แก่ 1) พลังทางสังคมกับการส่งเสริมธรรมาภิบาล 2) สร้างบรรทัดฐานและค่านิยมการเคารพในหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 3) ลดความรุนแรงของการแข่งขันทางการตลาด 4) ส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายในองค์การ 5) ประสานความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 6) ความรวดเร็วในการตอบสนองต่อการพัฒนาทางเทคโนโลยี
References
ชนิดา จิตตรุทธะ. (2559). วัฒนธรรมพีระมิดกับการทำให้เป็นประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนิดา จิตตรุทธะ. (2563).วัฒนธรรมประชาธิปไตยกับพัฒนาการของสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา และ พิมลพรรณ ไชยนันท์. (2559). ข้อเสนอแนวทางการกำกับดูแลร่วมกันด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์สำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.
ณัฏฐากร บุญช่วย และ ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า. (2562). บทบาทคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). กับการปฏิรูปสื่อในกิจการโทรทัศน์ปี 2554 –2559. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(29), 1–13.
บุญเลิศ คชายุทธเดช. (2550). เสรีภาพสื่อ-เสรีภาพประชาชน อุปสรรคที่ขัดต่อเจตนารมณ์. กรุงเทพฯ:สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551. (2551, 4 มีนาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 42 ก, หน้า 14-44.
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553. (2553, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 78 ก, หน้า 1-50.
พิรงรอง รามสูต, พิมลพรรณ ไชยนันท์ และวิโรจน์ สุทธิสีมา. (2565). ห้องแห่งเสียงสะท้อนออนไลน์กับผู้ออกเสียงเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(2), 7–32.
ภานุพงษ์ ทินกร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อจรรยาบรรณสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัลและแนวทางการกำกับดูแล (การค้นคว้าอิสระนิเทศศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภูชิตต์ ภูริปานิก. (2557). โครงสร้างโทรทัศน์สาธารณะ Thai PBS กับการมีส่วนร่วมของพลเมือง. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 98-111.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก, หน้า 1–127.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 1-94.
วิไลวรรณ จงวิไลเกษม และคณะ. (2564). เสียงสะท้อนและข้อเสนอเชิงนโยบายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทยต่อการปฏิบัติงานด้านกิจการโทรทัศน์ของ กสทช.. วารสารศาสตร์, 2(14), 145-174.
สำนักงาน กสทช. (2557). คู่มือจริยธรรมและการกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์. ค้นเมื่อ 13 มกราคม 2567, จาก https://www.nbtc.go.th/Services/academe/ด้านกำกับดูแล/คู่มือจริยธรรมและการกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเ.aspx
อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์. (2561). แนวทางการกำกับดูแลเนื้อหาของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลในประเทศไทย.วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร. พระนคร,3(2), 62-72.
EIU. (2021). Democracy Index 2020: In sickness and in health?. n.p. : The Economist Intelligence Unite Limited.
Ginosar, A. (2013). Media Governance: A Conceptual Framework or Merely a Buzz Word?. Communication Theory, (23), 356-374.
Haraszti, M., Baydar, Y., Gore, W., Zlatev, O., & Maurus, V. (2008). The Media Self-Regulation Guidebook. Vienna: Office of the Representative on Freedom of the Media, Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE).
Hofstede, G., Hofstede, G. J., & Minkov, M. (2010). Cultures and Organizations: Software of the Mind. New York: McGraw-Hill.
Jackson, E. A., Jabbie, M. (2021). Understanding Market Failure in the Developing Country Context. Decent Work and Economic Growth. Switzerland: Springer Nature.
Lund, A. B. (2016). A Stakeholder Approach to Media Governance. Managing Media Firms and Industries. Switzerland: Springer International Publishing.
Mcquail, D. (2010). Mcquail’s Mass Communication Theory. New Delhi: SAGE Publication.
Ofcom. (2017). Advice for Complainants: Guidance on submitting a complaint to Ofcom. Retrieved January 13, 2024, from https://www.ofcom.org.uk/_data/assets/pdf_file/ 0013/102514/Advice-for-complainants.pdf
Ofcom. (2021). Making Ofcom work of everyone: Ofcom’s diversity and inclusion strategy. Retrieved January 13, 2024, from https://www.ofcom.org.uk/_data/assets/pdf_file/ 0012/210900/diversity-andinclusion-strategy-report-2019-20.pdf
Ofcom. (2022). External Contact Policy: Unacceptable behavior. Retrieved January 13, 2024, from https://www.ofcom.org.uk/_data/assets/pdf_file/0025/190249/external-contact-policy-unacceptable-behaviour.pdf
Ofcom. (n.d.a). Make a complaint. Retrieved January 13, 2024, from https://www.ofcom.org.uk/ complaints/complain-about-tv-radio-a-website
Puppis, M. (2010). Media Governance: A New Concept for the Analysis of Media Policy and Regulation. Communication, Culture & Critique, (3), 134-149.
TDRI. (2016). เล่มที่ 3 การกำกับดูแลเนื้อหารายการสื่อวิทยุ โทรทัศน์. โครงการศึกษาวิจัยปฏิรูปสื่อ. ม.ป.ท: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
TDRI. (2016). เล่มที่ 7 กลไกการกำกับดูแลตนเอง. โครงการศึกษาวิจัยปฏิรูปสื่อ. ม.ป.ท: มูลนิธิ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
UNESCO. (2008). ตัวชี้วัดการพัฒนาสื่อ: กรอบสำหรับประเมินการพัฒนาสื่อ. Paris: UNESCO
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว