แนวทางการพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนบนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชน ตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ภรณีย ยี่ถิ้น สาขาพัฒนามนุษย์และสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เกษตรชัย และหีม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาบุคลากรท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนบนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชน ตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ใช้แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และแนวคิดการเล่าเรื่อง เป็นกรอบการวิจัย โดยมีพื้นที่วิจัยคือ ชุมชนบ้านในลุ่ม ตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง คือ สมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวบ้านในลุ่มจำนวน 24 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสังเกตุการณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ทำการบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนบนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชน ตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เกิดจากการร่วมออกแบบและพัฒนากิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง แบ่งได้เป็น กิจกรรมการพัฒนาบุคลากรก่อนจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว กิจกรรมการพัฒนาบุคลากรระหว่างจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว และกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรหลังจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว โดยมีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวให้แก่สมาชิกชุมชน ควบคู่กับการกระตุ้นการตระหนักรู้คุณค่าและความสำคัญของฐานทรัพยากรในชุมชน องค์ความรู้ที่พบจากงานวิจัยนี้ เกิดการแนวทางการพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวของชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน ช่วยเพิ่มศักยภาพในการรองรับการเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว และช่วยเพิ่มบทบาทและการตระหนักรู้คุณค่าของทรัพยากรทางการท่องเที่ยวให้แก่สมาชิกชุมชน เพื่อการอนุรักษ์ฐานทรัพยากรชุมชนไปพร้อมกับการใช้ประโยชน์ในระยะยาว

References

กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน. (2561). คู่มือการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว.

กานต์มณี ไวยครุฑ และ นลินอร นุ้ยปลอด. (2566). การพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชุมชนบนพื้นฐานทรัพยกรชุมชน ตำบลกระแซง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่, 15(2), 168-181.

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2564). การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา หมู่บ้านสามขา ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(2), 33-44.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ชุติปภา ทะสะภาค, สุรมน จันทร์เจริญ และสหัสชัย มหาวีระ. (2566). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 13(3), 830-845.

ป้านี (นามสมมุติ) (2562 ธันวาคม 25). สมาชิกชุมชนย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. สัมภาษณ์.

พัน (นามสมมุติ) (2562 ธันวาคม 25). สมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. สัมภาษณ์.

พี่วิ (นามสมมุติ) (2562 ธันวาคม 24). สมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. สัมภาษณ์.

ภาคภูมิ ภัควิภาส และคณะ. (2566). การจัดการกลุ่มอาชีพอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน: ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอแม่ปาน จังหวัดลำปาง. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 13(2), 485-494.

ยายน้อย (นามสมมุติ) (2562 ธันวาคม 24). สมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. สัมภาษณ์.

ยายอ้วน (นามสมมุติ) (2562 ธันวาคม 24). สมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. สัมภาษณ์.

สำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2565). หนังสือชุดองค์ความรู้ เรื่อง ยกระดับการขายสไตล์ท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: มาสเตอร์แพลน จำกัด.

สุธี แก้วเขียว. (2560). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของท้องถิ่นคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี.วารสารรัชต์ภาคย์ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 23 ปี, 271 – 281.

อภิรักษ์ สงรักษ์ และคณะ. (2560). โครงการการสร้างตัวแบบเชิงกระบวนการและเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดตรังสู่ความยั่งยืน (รายงานผลการวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เอกพล วงศ์เสรี. (2565). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(2), 793-812.

Biagi, B., Ladu, M. G. & Royuel, V. (2015). Human development and tourism specialization. Evidence from a panel of developed and developing countries. Retrieved March 14, 2024, from https://www.ub.edu/aqr/

Boris, V. & Peterson, L. (2017). What Makes Storytelling So Effective For Learning?. Retrieved March 14, 2024, from https://www.harvardbusiness.org/what-makes-storytelling-so-effective-for-learning

Chin, W. L., Tham, A. & Noorashid, N. (2023). Distribution of (In) Equality and Empowerment of Community-Based Tourism: The Case Study of Brunei Darussalam. International Journal of Hospitality & Tourism Administration. https://doi.org/ 10.1080/15256480.2023.2175287

Matei, S. A. & Hunter, L. (2021). Data storytelling is not storytelling with data: A framework for storytelling in science communication and data journalism. The Information Society, 7(5), 312-322.

Peterson, L. & Boris, V. (2017). The Science Behind the Art of Storytelling. Retrieved March 14, 2024, from https://www.harvardbusiness.org/the-science-behind-the-art-of-story telling/

Reindrawat, D. Y. (2023). Challenges of community participation in tourism planning in developing countries. Cogent Social Sciences, 9(1), 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30