รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, การบริหารจัดการ, วัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์, การมีส่วนร่วมของชุมชน, ความสำเร็จขององค์กรวิสาหกิจชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 2) อิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 และ 3) พัฒนารูปแบบสำหรับเพิ่มความสำเร็จขององค์กรวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร จำนวน 440 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบความน่าจะเป็น (Probability Sampling) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนระดับดีเด่นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 จำนวน 20 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำ การบริการจัดการ การมีส่วนร่วมของชุมชน และความสำเร็จขององค์กรวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 2 อยู่ในระดับมาก และระดับวัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับปานกลาง 2) ภาวะผู้นำ การบริหารจัดการ วัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วมของชุมชน มีอิทธิผลต่อความสำเร็จขององค์กรวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) รูปแบบความสำเร็จขององค์กรวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 2 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า H2P Model เป็นรูปแบบในการส่งเสริมความสามารถของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการการดำเนินงาน ส่งผลต่อการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
References
กัญญา เกสรพิกุล, ปรีชา ดิกวุฒิสิทธิ์ และ วรพล แวงนอก. (2564). รูปแบบการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนการมีส่วนร่วมของชุมชนและแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 181-196.
ฤทัยภัทร ให้ศิริกุล. (2563). แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านบัว ตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 15(2), 9-23.
พิทยพัฒน์ ลุนโน. (2563). แนวปฏิบัติที่ดีด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
รัชนี รูปหล่อ และคณะ. (2562). แนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนและเจริญเติบโตของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ฉบับพิเศษ (5). 195-225.
สัญญา เคณาภูมิ. (2559).บทวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: ความเชื่อมโยงแนวปฏิบัติทฤษฎีอื่น. ว.มรม. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(2), 69-83.
สุภาภรณ์ เหล่าศรีรัตนา. (2564). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์การนวัตกรรมของศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(1), 43-60.
อัจฉราภรณ์ จุฑาผาด และ อินทร์ อินอุ่นโชติ. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลม่อนเฟรชฟาร์ม 101 บ้านดอนหาด ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 5(1), 31-45.
Bryant, J., & Finklea, B. W. (2022). Fundamentals of media effects. Long Grove, IL: Waveland Press.
Community Enterprise Promotion Division, Department of Agricultural Extension. (2017). Nakhon Ratchasima Provincial Community Enterprise Information. Bangkok: Community Enterprise Registration and Information Group, Department of Agricultural Extension.
Diamantopoulos, A., Siguaw, J. A., & Cadogan, J. W. (2000). Export performance: The impact of cross-country export market orientation. In American Marketing Association. Conference Proceedings, 11, 177.
Obi, J. et al. (2018). Contribution of small and medium enterprises to economic development: Evidence from a transiting economy. Data in brief, 18, 835-839.
Odhiambo, G. O., Musuva, R. M., Odiere, M. R., & Mwinzi, P. N. (2016). Experiences and perspectives of community health workers from implementing treatment for schistosomiasis using the community directed intervention strategy in an informal settlement in Kisumu City, western Kenya. BMC public health, 16(1), 1-12.
Thipwong, T., & Wiruchnipawan, W. (2018). Administrative Development Guidelines Regarding Public Relations of the Social Security Office in Chaiyaphum Province. Governance Journal, 7(2), 568-599.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว